คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
“ท่องเที่ยววิถีเกษตร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
“ท่องเที่ยววิถีเกษตร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” หมู่4 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ
เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์)
เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”

ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4,7 ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่ารับร่อ และป่าสลุย ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ ประเภท ลูกคลื่น ลอนตื้น-ลึก และพื้นที่ภูเขา มีแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นลำคลอง 2 สาย คือ คลองโอน และคลองอาธรรม พืชพันธุ์ไม้เดิมถูกทำลายเสียหายโดยพายุใต้ฝุ่นเกย์ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 จากนั้นคนในชุมชนได้ร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพื่อเป็นการฟื้นฟู และอนุรักษ์พืชท้องถิ่นให้คงอยู่
ลักษณะเด่น
รวบรวมพันธุ์พืชท้องถิ่นในชุมชน
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 55 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
ยโสธร
สวนผลไม้ที่ร่มรื่น ได้เห็นต้นทุเรียน, ต้นมังคุด ฯลฯ ที่หลายคนไม่เคยได้เห็นมาก่อน มีผลไม้สดๆ จากสวนให้เลือกซื้อกันด้วย อีกอย่างสวนนี้มีเงาะเขียวขายด้วยนะ เค้าบอกว่าอร่อยมาก พิกัด https://goo.gl/maps/GXxffNrXUqdwF7sx5
สระบุรี
ไร่องุ่นปรีดาฤทธิ์ของครูเมธี มูลฟูยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงหาอาชีพเสริมทำด้วยการปลูกองุ่นมาแทนพื้นที่ปลูกกล้วยกับอ้อย ต้นองุ่นให้ผลดก มีรสชาติหวานกรอบ อร่อยชุ่มลิ้น
กำแพงเพชร
บ้านนอก Story จุดเริ่มต้น กว่าจะมาเป็นบ้านนอก story เริ่มจากสิ่งที่ชอบ และนำสิ่งที่ชอบนั้นมาสร้างรายได้ให้ได้ สิ่งที่ชอบของพวกเราคือ ความเป็นบ้านๆ ความเป็นชนบท และอยู่กับธรรมชาติ นี่คือจุดแข็งอย่างแรกที่เรามั่นใจ ว่าพวกเราจะอยู่กับสิ่งๆนี้ไปได้ตลอด แม้อาจจะไม่มีรายได้เกิดขึ้นเลยก็ตาม เลยเลือกที่จะกลับมาพิสูจน์ตัวเองที่บ้านเกิด ว่าพวกเราจะยังมีความเชื่อที่แรงกล้า พอที่จะฝ่าฟันอุปสรรค และความเป็นชนบทที่แท้จริงได้หรือไม่ ก่อนเปิดร้านบ้านนอก สตอรี พวกเราได้ ออกไปหาประสบการณ์ คือการไปออกบูธขายกาแฟ 8 เดือน เพื่อปรับสูตรและเมล็ดกาแฟที่ให้เป็นตัวเองมากที่สุด และเดินทางทั่วประเทศไทย อีก 2 เดือน เพื่อหาไอเดียใหม่ๆ รสชาติใหม่ๆ ความรู้เรื่องกาแฟ และประสบการณ์ มุมมองเกี่ยวกับการทำธุรกิจเล็กๆ พวกเราใช้เวลาเรียนรู้ กัน 1 ปีเต็ม กว่าจะมาเป็นร้านบ้านนอก สตอรี แน่นอนว่า เมื่อเรามาทำร้าน จุดที่เป็นจุดขายและเป็นเอกลักษณ์คือ ใช้ของที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เช่นไม้ ต้นไม้ วัสดุที่หาได้ตามบ้านนอก ที่ผู้คนหรือชาวบ้านไม่เห็นคุณค่า นำกลับมาดัดแปลง ในไอเดียที่เรามี ลดวัสดุสิ้นเปลือง แถมยังได้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติแบบสูงสุด อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ร้านของเราก็เลยจะมีวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เป็นหลัก และร้านของเรา ยังเน้นไปที่การ ให้ลูกค้าได้อยู่แบบ OUT DOOR อยู่กับธรรมชาติ ฟังเสียงนก สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ อย่างน้อย ก็เพื่อบำบัดความเครียด เพื่อให้สมองได้ปลอดโปร่ง เพราะฉะนั้น ร้านของเรา เป็นร้านที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้า เข้ามาผ่อนคลาย และได้รับเครื่องดื่มและอาหารที่อร่อย ในทุกๆเมนู ที่สำคัญคือได้ความสบายใจ ที่มาเยือน ณ ร้านของเรา เพราะเราให้ความสำคัญ กับการบริการ และ รสชาติของอาหารเป็นหลัก สุดท้ายนี้ การเปิดร้านเล็กๆข้างบ้าน เป็นเพราะทุนของเรามีจำกัด จึงต้องทำร้านเล็ก เพื่อไปสร้างร้านใหญ่ เพราะเรามีฝันที่ใหญ่กว่านี้มาก และหวังว่าทุกคนที่ชอบความเป็น บ้านนอก สตอรี ฉบับ โฮม ทาวน์ แบบชนบท จะสนับสนุนและให้กำลังใจพวกเรา ได้ทำฝันให้สำเร็จ ขอบคุณครับ
อุตรดิตถ์
📍 พิกัดฟาร์ม : https://maps.app.goo.gl/i7ouTVpvLiGX39Je9 ☎️ โทรศัพท์ : 062-351-4593 ⏰ เปิดบริการทุกวัน : 07.00 - 18.00 น
กำแพงเพชร
สถานีวิจัยและฝึกอบรมที่สูง ใช้เป็นแปลงเพื่อศึกษาทดลองเกี่ยวกับพืช เป็นสถานที่ฝึกงานนักศึกษาทั้งในและนอกสถาบัน และ เป็นที่ศึกษาธรรมชาติ ให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไป
เชียงใหม่
ชุมชนบ้านบัวเทิง ศูนย์แห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตเพื่อความสุขอย่างพอเพียง การทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ และแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ประโยชน์และการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพกับการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคอีสานที่ร้อนและแห้งแล้ง
อุบลราชธานี
- ชมการเลี้ยงปลาในกระชัง หอยแมลงภู่ - การปลูหญ้าทะเล - ศึกษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน - การแปรรูปปลาเค็มกางมุ้ง/อาหารทะเล - การจักสานเตยปาหนัน โปรแกรมการท่องเที่ยว - เดินทางถึงที่ทำการกลุ่ม ฟังบรรยายสรุปข้อมูลความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด - เรียนรู้วิถีการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง - ล่องเรือชมระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ศึกษาป่าชายเลน บ่อน้ำร้อน ชมอ่าวบุญคง ปลูกหญ้าทะเลเพื่อการอนุรักษ์อาหารปลาพะยูนในท้องทะเลตรัง ชมเกาะต่างๆ หาดทราย กลับเข้าที่พัก อาหารเย็น ตอนเช้าชมวิถีชุมชน กลุ่มแปรรูปอาหารทะเลปลาเค็มกางมุ้ง กลุ่มจักสานเตยปาหนัน ซื้อของฝาก เดินทางกลับ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) - หาดปากเม็ง 8 km. - หาดหัวหิน 3 km. - หาดราชมงคล 6 km. หมายเหตุ การวัดระยะทางใช้จุดที่ทำการกลุ่มฯ เป็นจุดเริ่มต้น สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตร อาหารทะเล ปลาเค็มกางมุ้ง ผลิตภัณฑ์จักสานเตยปาหนัน
ตรัง
ไร่คุณมนเป็นสวนเกษตรแบบผสมผสาน สวนผักปลอดสารพิษและโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นานาชนิด อาทิ น้ำนมข้าวโพด น้ำผัก กล้วย/ขนุนอบแห้ง กระยาสารทเคลือบน้ำผัก ลูกชิ้นข้าวโพด ไอศกรีมน้ำนมข้าวโพด อาหารชีวจิตเพื่อสุขภาพ เตาเผาถ่านอิวาติ และศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย บนพื้นที่ 150 ไร่ ด้วยเครื่องจักรอันทันสมัย โปรแกรมการท่องเที่ยว เรียนรู้กิจกรรมตามฐานต่างๆ 1.ฐานผลิตน้ำนมข้าวโพด 2.ฐานผลิตไอศครีมน้ำนมข้าวโพด 3.ฐานเก็บข้าวโพดสดจากไร่ 4.ฐานสกัดน้ำมันงา 5.ฐานสกัดน้ำส้มควันไม้และเตาเผาถ่านอิวาเตะ 6.ฐานทำลูกประคบ 7.บ้านดิน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) สะพานข้ามแม่น้ำแคว, สุสารสัมพันธมิตร ระยะทาง 25 กิโลเมตร วัดถ้ำเสือ ระยะทาง 30 กิโลเมตร ต้นจามจุรียักษ์ ระยะทาง 30 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน น้ำนมข้าวโพด น้ำมันงา กล้วยอบสุญญากาศ
กาญจนบุรี
ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียง อนุรักษ์พันธุ์กล้วยหายากในประเทศไทย ได้รวมสายพันธุ์กล้วยมากมายถึง 108 ชนิด โดยเฉพาะของสุพรรณบุรีเอง
สุพรรณบุรี
สวนบ้านเรา มีทุเรียนได้ลิ้มลองรสชาติที่แท้จริงของทุเรียนพันธุ์หายากเหล่านั้น ซึ่งมีน้อยคนนักจะได้สัมผัส สวนบ้านเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำทุเรียนทุกสายพันธุ์ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด ให้สมกับเป็นผลไม้ชั้นสูงที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้”
ระยอง
ไร่รื่นรมย์เป็นพื้นที่ community ที่ๆจะเปิดประสบการณ์และสร้างแรงบัลดาลใจให้คนกลับเข้ามาหาความสมดุลของธรรมชาติและกับตัวเอง ผ่านไร่เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ที่พักฟาร์มสเตย์ ร้านอาหารสุขภาพสร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่ดีจากการทำเกษตรที่ดี กิจกรรมและคอร์สเรียนวิถีชีวิตอินทรีย์ให้ใกล้ชิดธรรมชาติ และผ่านทางสินค้าเกษตรสดและแปรรูปอินทรีย์ที่ได้รับมาตราฐานสากล และจากวัตถุดิบชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่พวกเราตั้งใจปลูกและพิถีพิถันในการดูแลทุกขั้นตอน เพื่อส่งมอบสุขภาพที่ดีที่สุด ให้กับผู้บริโภคทุกคน ... เปิดประสบการณ์พักผ่อนในรูปแบบใหม่ที่เรียกได้อย่างเก๋ไก๋ว่า “Organic Life Style” เรียกได้ว่า มาครบจนในที่เดียว มีทั้ง ไร่ออร์แกนิค คาเฟ่ ฟาร์มสเตย์ ศูนย์การเรียนรู้ มากมาย
เชียงราย