คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี)
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 22150
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและผึ้งชันโรง จุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ั การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น เที่ยวได้ทุกวันที่จันทบุรี การเลี้ยงผึ้ง Bee Keeping
ประวัติความเป็นมา
กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ โดยจัดตั้งฝ่ายส่งเสริม และ อนุรักษ์ผึ้งในสายงานการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยเริ่มจากฝึกอบรมหลักสูตร การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ แก่เจ้าหน้าที่ กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ส่งเจ้าหน้าที่อบรม และดูงาน ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งที่ประเทศอิสราเอลและประเทศอื่นเรื่อยมา จนปี พ.ศ.๒๕๒๔ จึงให้หน่วยงานป้องกัน และ กำจัดศัตรูพืช ทำการศึกษา ทดสอบ การเลี้ยง และขยายพันธุ์ผึ้ง พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์แ ละขยายพันธุ์ผึ้งขึ้นในส่วนภูมิภาครวม ๕ ศูนย์ คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น พิษณุโลก จันทบุรี และชุมพร โดยมีสำนักงานชั่วคราว อยู่ในหน่วยป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชแต่ละจังหวัด ในขณะที่หน่วยป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชทั้งประเทศดำเนินการศึกษาและปฏิบัติงานการเลี้ยงผึ้งไปพร้อมด้วย ระยะเริ่มต้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจำนวน ๓,๓๑๗,๕๓๐ บาท ปี ๒๕๒๖-๒๕๒๗ ให้กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ ส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ โดยผ่านทางศูนย์อนุรักษ์และขยายพันธุ์ผึ้งทั้ง ๕ ศูนย์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร(ผึ้ง)" ศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี(ผึ้ง) เป็นหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ปรับปรุงกรอบอัตรากำลัง ภายใต้การบังคับบัญชาสำนักส่งเสริม และพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๓ จังหวัดระยอง มีหน้าที่ให้บริการ และให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องผึ้ งและแมลงเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ อันเป็นผลของการ เพิ่มผลผลิตโดยไม่ต้องขยายพื้นที่การเกษตร เสริมรายได้ต่อครัวเรือนโดยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์, แปรรูป ผลิตภัณฑ์ผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ โครงการส่งเสริมอาชีพเฉพาะด้านผึ้งและแมลงเศรษฐกิจจึงเป็นวิวัฒนาการ อีกก้าวหนึ่งของ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี(ผึ้ง) โดยการผลิตขยายพันธุ์ผึ้ง การใช้ผึ้งเพื่อผสมเกสร การเลี้ยงชันโรงเพื่อการเกษตร(การค้า) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง การเลี้ยง จึ้งหรีดเสริมรายได้ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างและการแบ่งงานภายในพื้นที่ รับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการใหม่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต เพื่อให้สามารถสนับสนุนความต้องการของพื้นที่และให้บริการด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้องได้อย่างครอบคลุม โดยให้ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี(ผึ้ง) เป็นศูนย์สหวิชา คือ เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรที่หลากหลายสาขาเพื่อให้บริการแก่เกษตรกร หน่วยงาน ประชาชน หรือผู้ที่สนใจ อาทิเช่น การเลี้ยงชันโรงเพื่อการเกษตร การเพาะเห็ดนางฟ้า การปลูกมะนาว เป็นต้น โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ ๒ จังหวัด คือ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด และให้เปลี่ยนชื่อศูนย์เป็น “ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี”
ลักษณะเด่น
ศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้ง และผึ้งชันโรง จุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น เที่ยวได้ทุกวันที่จันทบุรี การเลี้ยงผึ้ง Bee Keeping
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สวนจะติดกับคลองชลประทาน ซึ่งจะมีลมพัดเย็นตลอดเวลา ภายในสวนบรรยากาศร่มรื่น มีการจัดเส้นทางเดินชมสวน และมีซุ้มสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อน รับประทานผลไม้ในสวนนานาชนิด โดยเอกลักษณ์ที่สำคัญของสวนผู้ใหญ่สมควรคือ ต้นมังคุด 100 ปี จะมีขนาดลำต้นที่ใหญ่ สูง และมีลักษณะเป็นพุ่มสวยงาม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุด 100 ปี คือ จะมีเปลือกบาง หวานอร่อยกว่ามังคุดทั่วไป โดยลูกจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและผิวพรรณจะไม่นวลเนียนเท่าที่ควร แต่มีรสชาติอร่อย
ระยอง
ดำเนินการโดยชุมชน กิจกรรม นั่งรถอีโก่งไปท่าเรือ ลงเรือ พายเรือ ล่องเรือ ชมสวนส้มโอ ทำกิจกรรมในสวนส้มโอ เช่นการขยายพันธุ์ส้มโอ การติดตา ต่อกิ่งส้มโอ ฟังการบรรยายความรู้เรื่องการปลูก การบริหารจัดการสวนส้มโอ การตลาดส้มโอ การชิมส้มโอ การรับประทานอาหารพื้นบ้าน เช่น ตำหมากโอ การบายศรีสู่ขวัญต้อนรับนักท่องเที่ยว การแสดงรำวงสาวบ้านแต้ แสดงโดยเยาวชนในแหล่งท่องเที่ยว และการพักโฮมสเตย์ โปรแกรมการท่องเที่ยว: 1 เที่ยว 1 วัน ราคา 350 บาท/คน กิจกรรม ต้อนรับนักท่องเที่ยว นำนั่งรถอีโก่ง ลงเรือ ล่องเรือตามลำน้ำพรม ชมธรรมชาติ ขึ้นชมสวนส้มโอ รับประทานอาหารกลางวัน/อาหารว่างและเครื่องดื่ม ซื้อสินค้าในสวน ส่งนักท่องเที่ยวกลับ 2 เที่ยว 2 วัน 1 คืน ราคา 990 บาท/คน วันที่ 1 ต้อนรับนักท่องเที่ยว นำดูงานที่ศูนย์เรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร รับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว นั่งรถอีโก่ง ลงเรือ ล่องเรือตามลำน้ำพรม ชมธรรมชาติ ขึ้นชมสวนส้มโอ ร่วมกิจกรรมในสวน รับประทานอาหารเย็นศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว ร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับนักท่องเที่ยว ชมการแสดงรำวงสาวบ้านแต้ ของเยาวชนในแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกิจกรรมนันทนาการกับแหล่งท่องเที่ยว รำวงสาวบ้านแต้ เข้าพักโฮมสเตย์ วันที่ 2 รับประทานอาหารเช้า ที่ศูนย์บริการต้อนรับนักท่องเที่ยว ซื้อของฝากของที่ระลึก ส่งนักท่องเที่ยวกลับ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1 หาดน้ำพรม ระยะทาง 5 กม. 2 แก่งตาดไซ ระยะทาง 9 กม.
ชัยภูมิ
ในพื้นที่สวนได้ปลูกไม้ผลหลากหลายชนิด เช่น มังคุด ลองกอง ทุเรียน เงาะ กระท้อน และ มะยงชิด ซึ่งการดูแล ไม้ผลภายในสวนของคุณลุง ก็คล้ายกับสวนผลไม้ทั่วไป แตกต่างตรงที่สวนของคุณลุงจวบจะใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติ และใช้ปุ๋ยชีวภาพ ในการกำจัดศัตรูพืชและการบำรุงรักษาไม้ผล ทำให้มั่นใจได้ว่า สินค้ามีคุณภาพ และปลอดภัยจากสารพิษ มีรสชาติที่หอมหวานและอร่อยกว่า
ระยอง
สวนองุ่นแวงเดอร์เรย์ (Vin De Ray) เป็นสวนองุ่นที่คัดสรรพันธุ์องุ่นสำหรับการผลิตไวน์โดยเฉพาะ พิกัด : https://goo.gl/maps/TAiSBmBywwVD5ek86
สระบุรี
สวนทุเรียนในตำบลพลงตาเอี่ยม อำเภอวังจันทร์ จังกวัดระยอง
ระยอง
สนใจท่องเที่ยวชุมชน ติดต่อได้ที่ ผู้ใหญ่มัทนา ศรอารา (ผู้ใหญ่เก๋) หมายเลขโทรศัพท์ 081-8803732
กาญจนบุรี
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
ไร่สุขถวิล อินทผลัมเมืองช้าง 164 หมู่ 5 ตำบลหนองระฆัง อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160
สุรินทร์
📍 พิกัดฟาร์ม : https://maps.app.goo.gl/i7ouTVpvLiGX39Je9 ☎️ โทรศัพท์ : 062-351-4593 ⏰ เปิดบริการทุกวัน : 07.00 - 18.00 น
กำแพงเพชร
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือที่ผ่านมา คือ การทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวสำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่ พันธุ์แอปเปิล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด และพันนอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ รวมทั้งองุ่นสำหรับรับประทานสด เพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
เลย
สวนบ้านเรา มีทุเรียนได้ลิ้มลองรสชาติที่แท้จริงของทุเรียนพันธุ์หายากเหล่านั้น ซึ่งมีน้อยคนนักจะได้สัมผัส สวนบ้านเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำทุเรียนทุกสายพันธุ์ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด ให้สมกับเป็นผลไม้ชั้นสูงที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้”
ระยอง
พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 55 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
ยโสธร