คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดจันทบุรี
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดจันทบุรี ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 22150
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี เป็นหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ให้บริการความรู้ และฝึกอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแหล่งศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงและแมลงเศรษฐกิจ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งและชันโรง และการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีจุดเรียนรู้ต่างๆ ภายในศูนย์ ดังนี้
- จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์
- จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งโพรง
- จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งชันโรง
- จุดเรียนรู้การเลี้ยงจิ้งหรีด
- จุดเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้ง และผึ้งชันโรง
- จุดเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (การปลูกพืชผักในภาชนะ การเพาะเห็ดนาฟ้า )

โปรแกรมการท่องเที่ยว
สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.)
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี (ทุ่งเพล) ระยะทาง 21 กม.
- ศูนย์พัฒนาไม้ผลตามพระราชดำริจังหวัด จันทบุรี ระยะทาง 24 กม.
- สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จันทบุรี ระยะทาง 25 กม.
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทาง 48 กม.
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านปัถวี ระยะทาง 5 กม.

สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน
- น้ำผึ้ง
- น้ำผึ้งชันโรง
- ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งและผึ้งชันโรง (สบู่น้ำผึ้ง แชมพูน้ำผึ้งสมุนไพร ไขผึ้งสมุนไพร ลิบบาล์มไขผึ้ง โลชั่นโปรโปลิส ครีมนมผึ้ง)
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
-ชม ชิม ช็อป สินค้าชุมชนตลาดน้ำท่าคา (ตลาดน้ำมีทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และทุกวันขึ้นและแรม 2 ค่ำ 7 ค่ำ และ 12 ค่ำ) -ลงเรือพายชมธรรมชาติริมฝั่งคลอง ไปตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น ร.5 ณ บ้านกำนันจัน เป็นบ้านเรือนไทยเก่าแก่ (จองก่อนเข้าชมบ้านกำนันจัน) -เยี่ยมชมกิจกรรมชุมชน ร่วมทำกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้ต่างๆของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ตลาดน้ำท่าคาจากเรื่องราวของมะพร้าว ชมภูมิปัญญาการทำน้ำตาลมะพร้าว ได้แก่ - การขึ้นเก็บน้ำตาลมะพร้าวจากต้น - การเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวแบบโบราณ - เติมความหวาน เรียนรู้การทำขนมโบราณจากน้ำตาลมะพร้าวท่าคา - การจักสานก้านมะพร้าว ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนท่าคา - การจักสานทางมะพร้าวสด นำมาสานเป็นหมวก ตะกร้า ฯลฯ - เรือดุ๊กดิ๊กจากกาบมะพร้าว
สมุทรสงคราม
หยาดเหงื่อของลุงฮุยได้ทิ้งไว้ให้ลูกหลานและผู้สนใจได้ชื่นชมและศึกษาเล่าเรียน"สวนเกษตรลุงฮุย” จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร และสถานที่พักผ่อนเชิงธรรมชาติ ที่มีทั้งบ้านไม้สักกลางสวนและบ้านดินริมคลอง
กำแพงเพชร
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่างๆกันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา ข้อมูลและรูปภาพจากเว็บไซต์ : http://www.yasothon.go.th/web/file/menu4.html
ยโสธร
ไร่รื่นรมย์เป็นพื้นที่ community ที่ๆจะเปิดประสบการณ์และสร้างแรงบัลดาลใจให้คนกลับเข้ามาหาความสมดุลของธรรมชาติและกับตัวเอง ผ่านไร่เกษตรอินทรีย์ผสมผสาน ที่พักฟาร์มสเตย์ ร้านอาหารสุขภาพสร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่ดีจากการทำเกษตรที่ดี กิจกรรมและคอร์สเรียนวิถีชีวิตอินทรีย์ให้ใกล้ชิดธรรมชาติ และผ่านทางสินค้าเกษตรสดและแปรรูปอินทรีย์ที่ได้รับมาตราฐานสากล และจากวัตถุดิบชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่พวกเราตั้งใจปลูกและพิถีพิถันในการดูแลทุกขั้นตอน เพื่อส่งมอบสุขภาพที่ดีที่สุด ให้กับผู้บริโภคทุกคน ... เปิดประสบการณ์พักผ่อนในรูปแบบใหม่ที่เรียกได้อย่างเก๋ไก๋ว่า “Organic Life Style” เรียกได้ว่า มาครบจนในที่เดียว มีทั้ง ไร่ออร์แกนิค คาเฟ่ ฟาร์มสเตย์ ศูนย์การเรียนรู้ มากมาย
เชียงราย
-เพื่อให้เกษตรกรในกลุ่มจังหวัดระยอง แสดงผลงานทางการเกษตรต่อสมาชิกด้วยกัน -สมาชิกและผู้สนใจในการทำเกษตร สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้พูดคุยวิชาการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ -เพิ่มช่องทางการผลิต การตลาด การกระจายสินค้าทางการเกษตร ต่อสมาชิกและผู้สนใจด้วยกันอย่างกว้างขวาง
ระยอง
น้ำตก ผาสวรรค์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ลดหลั่นกันถึง 7 ชั้น และยังคงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติ ชื่อน้ำตกผาสวรรค์ เนื่องจากสายน้ำตกไหลตกลงมาจากหน้าผาสูง โดยเฉพาะชั้นสูงที่สุดมีความสูง 80 เมตร ชาวบ้านจึงเปรียบเทียบว่าน้ำตกไหลลงมาจากสวรรค์ ช่วงเวลาที่สวยงามมีน้ำมากอยู่ในช่วงหลังฤดูฝน การเดินทาง จากอำเภอทองผาภูมิใช้ทางหลวงหมายเลข 323 กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ รวมระยะทาง 33.8 กิโลเมตร หรือจากตัวเมืองกาญจนบุรีใช้ทางหลวงหมายเลข 323 กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ บริเวณกิโลเมตรที่ 109 เลี้ยวซ้ายผ่านบ้านสหกรณ์นิคมเข้าไป 15 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาบริเวณทางแยกดินลูกรัง 13 กิโลเมตร รวมระยะทาง 155 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางเชื่อมต่อจากน้ำตกผาตาด หรือขับรถจากน้ำตกห้วยแม่ขมิ้น ผ่านเหมืองเนินสวรรค์ หมู่บ้านสะพานลาว ระยะทาง 42 กิโลเมตร ถึงทางแยกบริเวณโครงการปลูกป่า เลี้ยวซ้าย 13 กิโลเมตร ถึงที่จอดรถ เดินเท้าต่ออีก 40 นาที ถึงตัวน้ำตก เดินทางในฤดูฝนควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ
กาญจนบุรี
บ้านจำรุงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ สมาชิกเหมือนเป็นคนครอบครัวเดียวกันทั้งหมด แต่เดิมมีลุงสำเริง ดีนาน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “โอท็อปโบราณ” ก่อนจะพัฒนาเป็นศูนย์โอท็อปชาวบ้าน นำสินค้าผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนมาขาย นอกจากนี้ ยังเปิดแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ มีรถพาชมสวน ได้ทั้งการพักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ และความรู้จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบชาวบ้าน ทั้งเกษตรพื้นบ้านไร้สารเคมี เกษตรธรรมชาติกองทัพมด เป็นตัวอย่างนำกลับไปใช้ได้จริง โดยเริ่มลงมือทำตั้งแต่ปีพ.ศ.2529 กระทั่งมีผลงานเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านที่เข้มแข็ง จากที่ประชุมกันในครัวเรือน กลายเป็นเครือข่ายองค์กรบ้านจำรุง ที่มีการประชุมร่วมกันทุกวันที่ 15 ของเดือน เป็นเวทีสาธารณะ หรือเวทีชาวบ้าน ที่มีทั้งเด็ก เยาวชน และคนแก่ เข้าร่วม ต่อมาปี พ.ศ.2549 จึงจัดตั้งเป็น “มหาวิทยาลัยบ้านนอก” เพื่อการเรียนรู้ของสังคม กระทั่งได้รับรางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากนั้นก็มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาศึกษาหาความรู้กันอย่างไม่ขาดสาย เป็นสิ่งที่ชาวบ้านภาคภูมิใจ
ระยอง
บ้านซำขี้เหล็ก เดิมเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น (คำว่า "ซำ" แปลได้ว่าเป็นพื้นที่ซับน้ำ หรือชำน้ำ) บุคคลที่เข้ามาบุกเบิกในระยะแรกๆ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510-2512 เป็นชาวจังหวัดยโสธรเข้ามาจับจองที่ดินช่วงแรกยังคงปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลัง ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2530-2535 มีชาวบ้านที่ไปประกอบอาชีพรับจ้างทางภาคตะวันออกแถวจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด ได้นำความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางพารา ไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน และไม้ผลอื่นๆ กลับมาทดลองปลูกในพื้นที่ของตนเอง ปรากฏว่ามีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตที่ดี ในส่วนของผลไม้มีรสชาติที่แตกต่างจากทางภาคตะวันออกของไทย และผลผลิตที่ออกก็ไม่ตรงกับภาคอื่นๆ ในปัจจุบันมีการขยายพี้นที่การปลูกเงาะ ทุเรียน และยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านซำขี้เหล็กประกอบอาชีพการเกษตร งานประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ งานบุญเดือนสี่ ประเพณีบุญพเวส งานวันสารทลาว (ไหว้บรรพบรุษ)
ศรีสะเกษ
บุฟเฟต์ผลไม้ ปันจักรยานและนั่งรถไถชมสวนผลไม้ จำหน่ายผลไม้คุณภาพ แและผลิตภัณฑ์แปรรูป ของฝาก
ระยอง
เที่ยวชมสวน บรรยากาศร่มรื่น ชิมผลไม้สดจากสวน จำหน่ายผลไม้คุณภาพ
ระยอง
1.เป็นศูนย์เรียนรู้สวนเอเดนเกษตรอินทรีย์เศรษฐกิจพอเพียง 2.การทำแก๊สชีวภาพใช้ในครัวเรือน 3.การทำปุ๋ยอินทรีย์และการทำน้ำหมักชีภาพ 4.การใช้ควายไถนาสู่วิถีชีวิตดั้งเดิม 5.การฝายชะลอน้ำและการฟื้นฟูป่าเพื่อเป็นแหล่งน้ำ(ปลูกป่า) 6.การทำหมูหลุม ควายหลุุม ไก่ และอื่นๆ 7.การปลูกพืชผักอินทรีย์และผลไม้อินทรีย์(ผสมผสาน) 8.การประมง
เชียงราย
สวนเกษตรปลูกผักปลอดสารเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
แพร่