คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดสวนปาล์มธารโต
ตลาดสวนปาล์มธารโต ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา 95150
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เรื่องเล่า อำเภอธารโต ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลา มีเนื้อที่ 648 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอบันนังสตาทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาสทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเบตงทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีญเป็นอำเภอที่มีความโดดเด่นในเรื่องทัศนียภาพ โอบล้อมด้วยภูเขาสูงชัน เป็นดินแดนแห่งผักและผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดยะลา มีความมหัศจรรย์ที่ผลไม้ที่นี่จะมีรสชาติหอมหวานกลมกล่อมอร่อยที่สุดในจังหวัดยะลา อาทิเช่น ลองกอง ทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนพวงมณี และกล้วยหินบันนังสตา และไม่เพียงแต่ผลไม้ที่มีรสชาติดี สิ่งที่มหัศจรรย์ไม่แพ้กันคือผักและพืชบางอย่างเมื่อปลูกที่นี่จะมีความกรอบและหอมจนน่าหลงใหล เนื่องจากปลูกในหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุและมีพืชพันธ์นานาชนิด ที่หาจากที่อื่นไม่ได้ อาทิเช่น ดอกดาหลา ซึ่งเป็นดอกไม้มหัศจรรย์มีความสมบูรณ์และมีกลิ่นเฉพาะเมื่อปลูกที่อำเภอธารโตและมีจำนวนมากที่สุด ซึ่งมีถึง 6 สี ได้แก่ สีแดงกุหลาบ, สีแดงอินโด, สีชมพู, สีขาว, สีเขียว และสีม่วง เป็นต้น จนทุกปีอำเภอธารโตต้องจัดเป็นงานมหกรรม "วันดอกดาหลาบานที่ธารโต" เพื่อประกาศให้นักท่องเที่ยวได้มาเยี่ยมชมความสวยงามของดอกดาหลาที่นี้เป็นประจำทุกปี

จากจุดเด่นดังกล่าว องค์การบริหารส่วนตำบลธารโต จึงได้มีแนวคิดในการนำพื้นที่บริเวณสวนปาล์ม ซึ่งเป็นส่วนปาล์มเก่าที่มีจุดเด่นตรงเป็นสถานที่ที่มีความร่มรื่น มาพัฒนาเป็นตลาดต้นปาล์มเพื่อให้ชาวบ้านได้นำสินค้าเกษตรที่มีโดดเด่นเฉพาะในพื้นที่มาจำหน่ายรวมถึงสินค้าอื่นๆ อาทิเช่นสินค้าประจำถิ่นได้แก่ น้ำพริกดอกดาหลา ขนมนิบ๊ะ ขนมฆอเด๊าะห์ กาแฟโบราณธารโต ชาชัก ปลาบึกทอดขมิ้น แกงบุบ เป็นต้น มาจำหน่ายในตลาด ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถือเป็นวิถีชีวิตของคนอำเภอธารโตนับจากจุดเริ่มต้นดังกล่าวจึงเกิดเป็นตลาดชุมชนตลาดสวนปาล์มธารโตขึ้น เป็นเวลาถึง 8 ปี 9 เดือน และมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างเป็นลำดับ และนับได้ว่าเป็นตลาดที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่ชาวไทยพุทธและมุสลิมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีการแบ่งบันซึ่งกันและกันมีรอยยิ้มและมิตรภาพให้กันเสมอ
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
...ชิมชา......ชาผักเชียงดาที่ผลิตภายในศูนย์ฯ ...ชมสวน...ชมแปลงเรียนรู้การเกษตรด้าน ไม้ดอก-ไม้ประดับ,ไม้ผล-ไม้ยืนต้น,เศรษฐกิจพอเพียง,พืชผักและสมุนไพร,แมลงเศรษฐกิจ,ฝายชะลอน้ำ,แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก,จุดเช็คอินธรรมชาติ,เส้นทางเดินชมธรรมชาติ,ชมตาน้ำ,ดูนกท้องถิ่น...ฯลฯ ...ชวนช้อป...สินค้าผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรที่บริเวณจุดจำหน่ายด้านหน้าศูนย์ฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว : ทริปเที่ยว ๑ วันภายในศูนย์ฯ ทริปเที่ยว ๒ วัน ๑ คืน..พร้อมท่องเที่ยวแหล่งอื่นๆที่ใกล้เคียง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: '- บ้านไทลื้อบ้านลวงใต้ ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดศรีมุงเมือง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๗ กม. - หนองบัวพระเจ้าหลวง ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๕ กม. สะพานแขวนเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ระยะทางก่อนถึงศูนย์ฯ ๑๐กม. - น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ระยะทางจากศูนย์ฯ ๙ กม. - ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะทางจากศูนย์ฯประมาณ ๔ กม. - โครงการพระราชดำริฯศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแปลงสาธิต๘๕ไร่ ระยะทางจากศูนย์ฯถึงประมาณ ๗ กม.
เชียงใหม่
ชมสวนผลไม้ ชิมผลไม้สดจากสวน เเละจำหน่ายผลไม้คุณภาพ
ระยอง
บุบเฟ่ต์ผลไม้ การทำกะราง ข้าวตังพื้นบ้าน การสานเสื่อคล้า รำตัดเด็ก
ระยอง
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพะเยา (เกษตรที่สูง) ตั้งอยู่บนความสูงจากน้ำทะเล 908 เมตร มีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็นตลอดทั้งปี สภาพพื้นที่เป็นสันเขา ตั้งอยู่ในบริเวณวนอุทยานภูลังกา จากที่ตั้งศูนย์สามารถมองเห็นทิวทัศน์ยอดดอยภูลังกา ซึ่งมีตำนานเล่าขานว่า ในอดีตช่วงก่อนวันพระขึ้น 15 ค่ำ ชาวเขาด้านล่างซึ่งเป็นชนเผ่าเมี่ยน จะมองเห็นแสงสว่างขาวนวลส่องเป็นประกายเหมือนแท่งหน่อไม้คู่ บนยอดภูลังกา ทำให้ชาวบ้านบางคนเกิดความสงสัย บางคนถึงขนาดมานอนค้างอ้างแรมกันข้างบนภูลังกา แต่ก็ไม่พบอะไร แต่พอกลับลงไปก็พบแสงสว่างที่ว่านั้นในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำอีก ชาวบ้านแถบนี้จึงเชื่อกันว่า แสงเหล่านั้นเกิดจากการชุมนุมกันของเหล่าเทวดา เชื่อว่า บนภูลังกาแห่งนี้ เป็นที่สถิตของเทพ เทวดา ทุกๆปีจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ เพื่อให้ท่านช่วยปกปักรักษา ชาวเมี่ยนจึงเรียก ภูลังกาแห่งนี้ว่า “ฟินจาเบาะ” หรือ “แท่นเทวดา” โปรแกรมการท่องเที่ยว : 1 วัน - ช่วงเช้า : สัมผัสอากาศหนาว ชมทิวทัศน์ดอยภูลังกา เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ เช่น แปลงองุ่น อาโวคาโด้ การปลูกพืชผักในโรงเรือน และแปลงเกษตรกร - ช่วงบ่าย : จิ๊บกาแฟ และชาเจียวกูหลาน ที่จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) และเยี่ยมชมโครงการหลวงปังค่า 2 วัน วันที่ 1 - ช่วงเช้า : ไหว้พระขอพรวัดนันตาราม และวัดพระนั่งดิน - ช่วงบ่าย : ชมทิวทัศน์ดอยภูลังกา เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ เช่น แปลงองุ่น อาโวคาโด้ การปลูกพืชผักในโรงเรือน และแปลงเกษตรกร วันที่ 2 - ช่วงเช้า : จิ๊บกาแฟ และชาเจียวกูหลาน ที่จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) และเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน - ช่วงบ่าย : เยี่ยมชมโครงการหลวงปังค่า และยอดดอยภูลังกา เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : '- วัดนันตาราม ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 42.3 กิโลเมตร - วัดพระนั่งดิน ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 38 กิโลเมตร - โครงการหลวงปังค่า ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 21.8 กิโลเมตร - วนอุทยานภูลังกา ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 25 กิโลเมตร - จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 6.9 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 16 กิโลเมตร
พะเยา
ขายอินทผลัมผลสด,แห้ง ขายต้นพันธ์(เนื้อเยื่อ) รับปลูก,ระบบน้ำอัตโนมัติ รับทำสวนทั้งระบบ
อุบลราชธานี
สถานีวิจัยและฝึกอบรมที่สูง ใช้เป็นแปลงเพื่อศึกษาทดลองเกี่ยวกับพืช เป็นสถานที่ฝึกงานนักศึกษาทั้งในและนอกสถาบัน และ เป็นที่ศึกษาธรรมชาติ ให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไป
เชียงใหม่
สวนเกษตรปลูกผักปลอดสารเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
แพร่
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยเท้าพ่อเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ ภายในบ้านเป็นสวนผสม ปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครอบครัว โดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และครูยังเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในถังพลาสติก จำนวน 400 ถัง และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะได้ข้าวเปลือกประมาณกว่า 20 ถัง ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในครอบครัวได้ทั้งปี ต่อมาได้มีชาวบ้าน และชาวต่างชาติรู้ข่าวจึงได้มาดู และขอดูถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก และได้เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจอีกด้วย
ชุมพร
ที่นี่ บ้านนาสวนสามขา อำเภอสันติสุข สัมผัสวิถีเนิบช้ากับยามเช้าอันแสนสงบ เที่ยวชมท้องทุ่งสีเขียวอ่อน ในหน้าฝน สูดดิน กลิ่นโคลน สุดสดชื่นระรื่นตา กับบรรยากาศชายทุ่งเดินเล่นทอดน่องพักผ่อนสบายๆ กินอยู่ง่ายๆ เก็บพืชผักสวนครัวในบ้าน นำมาปรุงอาหาร เป็นเมนูในท้องถิ่น แค่นี้ก็อิ่มอร่อยมีเวลาเหลือๆ ลงแปลงเพาะกล้า ทำนาโยน เรียนรู้การเกษตรวิถีใหม่ บางคนไม่ใช่เกษตรกรโดยตรง ไม่เคยดำนา มาท่องเที่ยว อยากเดินย่ำโคลนโยนข้าว สัมผัสสายลม และท้องทุ่งขนต้นกล้าที่เพาะไว้ไปแปลงนา เดินป่าๆ โยนๆ แบบซิวๆ ไม่ต้องก้มให้เมื่อย ยิ่งแดดร่ม ลมตกแบบนี้สบายๆ
น่าน
อัตราค่าบริการต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียดและรายการโปรโมชั่นต่างๆโดยตรงที่ " เขามะกอก ฟาร์มสเตย์ "
สระบุรี