รายละเอียด
เมื่อปี พ.ศ.2550 มีประชาชนในพื้นที่เขตตำบลชัยบาดาล ได้ตั้งแผงค้าขายปลาบริเวณสะพานทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในปัจจุบัน โดยมีประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงนำปลาที่จับได้มาส่งให้กับแม่ค้า ซึ่งเป็นการเกื้อหนุนกันในการประกอบอาชีพของประชาชน และเมื่อปี พ.ศ.2541 ได้มีโครงการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ขึ้น ทำให้ประชาชนที่ทำการ ประมง และค้าขายบริเวณนั้น ได้รับความเดือดร้อน ทางองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล จึงได้ทำหนังสือเพื่อขอให้พื้นที่ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จัดตั้งเป็นตลาดปลาขึ้น เพื่อลดความเดือดร้อน และส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนในตำบลชัยบาดาล และตำบลมะกอกหวาน และในการก่อตั้งตลาดปลาขึ้นมีผลตอบรับที่ดีมาก จากประชาชนทั่วไปที่ใช้เส้นทางนี้ในการสัญจรไปมาก็จะแวะเข้าเยี่ยมชม และซื้อปลาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กลับไปเป็นของฝากและประกอบอาหาร องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล จึงเล็งเห็นความสำคัญของตลาดปลา และพัฒนาตลาดปลาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นด้านความสะอาด ความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะทำให้ประชาชนที่คิดจะประกอบอาชีพค้าขายเข้ามาจองแผงปลาเพิ่มขึ้น เพื่อค้าขายปลา และนำปลามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของฝาก ปัจจุบันมีแผงกว่า 70 แผงค้า ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาลได้ก่อตั้งสถานที่ค้าขายปลามาเป็นตลาดปลา เพราะทางตลาดปลาจำหน่ายปลาที่หามาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2554 องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล ได้จัดทำโครงการ กินปลา ชิมพุทรา ชัยบาดาล ครั้งที่ 1 ขึ้นเพราะเขตตำบลชัยบาดาล และตำบลมะกอกหวาน มีการประกอบอาชีพประมง และเกษตรกรก็นิยมปลูกพุทรา ซึ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลต่างๆ จะมีการตั้งแผงลอยขึ้นตามเส้นทาง องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาลจึงจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมอาชีพของประชาชน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ซึ่งในปีนั้นได้รับเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานเปิดพิธีโครงการ กินปลา ชิมพุทราชัยบาดาล ครั้งที่ 1 หลังจากในช่วงเทศกาลปีใหม่ ก็จะจัดโครงการกินปลา ชิมพุทราชัยบาดาล ขึ้นทุกๆ ปี