คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
พระธาตุกู่จาน
- ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันจันทร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันอังคาร
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันพุธ
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันศุกร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
• วันเสาร์
: 06:00 น. - 18:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านกู่จานเป็นปูชนียสถานสำคัญ ประชาชนชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงต่างสักการะบูชา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม องค์พระธาตุกู่จาน กว้าง 5.10 เมตร สูง 15 เมตร ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านงิ้ว กลางลานวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งดูลักษณะแล้วคล้ายคลึงกับองค์พระธาตุพนม ต่างกันเพียงขนาดซึ่งพระธาตุกู่จานมี ขนาดเล็กกว่า

ความสำคัญต่อชุมชน : เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ทุกๆ ปี ชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไป ทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวัน เพ็ญ เดือน 6 ตอนบ่ายจะไปทำพิธีสรงน้ำ "กู่" หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพัง เพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธี สรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านกู่จานจึงได้ถือปฏิบัติพิธีนี้เป็นประจำ
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพุทธศักราช 7 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วเป็นเวลา 7 ปี พระมหากัสสปะได้นำพระบรมสารีริกธาตุลงแจกจ่ายในดินแดนแถบนี้ กลุ่มที่ได้มาคือพระยาคำแดงซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ ด้านกลุ่มพระยาพุทธซึ่งเป็นผู้มีอำนาจทางฝ่ายใต้ไม่ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้เดินทางไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระยาคำแดง พระยาคำแดงไม่อยากให้ ทำเป็นพูดจาบ่ายเบี่ยง โดยท้าแข่งก่อสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุว่าใครจะเสร็จก่อน หากใครแพ้ต้องยอมเป็นเมืองขึ้นของกันและกัน แต่มีข้อแม้อยู่ว่าในการก่อสร้างเจดีย์ครั้งนี้ต้องใช้คนอย่างมากไม่เกิน 6 คน เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว พระยาพุทธก็เดินทางกลับมาประชุมเจ้าเมืองฝ่ายใต้เพื่อทำการก่อสร้างพระธาตุกู่จานและได้คัดเลือกเอาแต่คนสนิทที่มีฝีมือ ได้แก่ พระยาพุทธ พระยาเขียว พระยาธรรม พระยาคำ พระยาแดง และพระยาคำใบ กลุ่มของพระยาพุทธทำการก่อสร้างพระเจดีย์ไปได้ครึ่งหนึ่งแล้วแต่เกรงว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วพระยาคำแดงจะไม่ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ตามที่ได้ตกลงกันไว้และกลัวจะแพ้พระยาคำแดง จึงได้ยกกองกำลังขึ้นไปแย่งชิงเอาพระบรมสารีริกธาตุมาไว้ก่อนแล้วค่อยสร้างต่อไปจนเสร็จ แต่พระยาคำแดงได้วางมาตรการคุ้มกันอย่างเข้มแข็ง ทั้ง 6 คนบุกเข้ารบอย่างดุเดือดแต่ก็ไม่สามารถโจมตีเข้าไปถึงที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุได้ เนื่องจากมีกำลังน้อยกว่าและพระยาคำได้เสียชีวิต เป็นอันว่าผู้สร้างพระธาตุกู่จานเหลือเพียง 5 คน เมื่อเห็นว่ามีกำลังน้อยกว่าคงสู้ต่อไปไม่ได้จึงยกทัพกลับ เมื่อกลับมาถึงก็ได้ทำการคัดเลือกผู้ที่มีฝีมืออยู่ยงคงกระพันยิงไม่เข้าฟันไม่เข้า รวบรวมได้หนึ่งหมื่นคนก็ยกกำลังไปที่หัวเมืองฝ่ายเหนืออีกเพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุจากพระยาคำแดงเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้ฝ่ายของพระยาพุทธก็ได้รับความผิดหวัง ทหารที่เกณฑ์ไปเสียชีวิตทั้งหมดเหลือรอดกลับมามีแต่เจ้าเมืองทั้งห้าเท่านั้น เมื่อไม่ประสบผลสำเร็จก็กลับมายังเมืองของตน เพื่อทำการคัดเลือกทหารและวางแผนการใหม่โดยแบ่งกำลังออกเป็น 5 ส่วนเท่ากัน ในส่วนของพระยาพุทธนั้นยังไม่เข้าโจมตีรอให้ทั้ง 4 ฝ่ายเข้าโจมตีก่อน แล้วจึงเข้าโจมตีด้านหลัง ทหารของพระยาคำแดงหลงกลที่เห็นพระยาทั้ง 4 เข้าตีด้านหน้าก็พากันออกมารับโดยไม่ระวังด้านหลัง พระยาพุทธซึ่งคอยทีอยู่แล้วจึงได้พังประตูด้านหลังเข้าไปยังที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุอันได้บรรจุไว้ในผอบทองคำเขียนอักษรติดเอาไว้ซึ่งพระยาพุทธได้มาทั้งสิ้น 6 ผอบ คือ 1.พระบรมสารีริกธาตุ พระเศียร 2.พระบรมสารีริกธาตุ พระอุระ 3.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระหัตถ์ขวา 4.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระหัตถ์ซ้าย 5.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระบาทขวา และ 6.พระบรมสารีริกธาตุ นิ้วพระบาทซ้าย ในแต่ละชิ้นของพระบรมสารีริกธาตุมีขนาดเท่าเมล็ดงา พระยาทั้ง 5 เมื่อทำการสำเร็จแล้วจึงนำทหารถอยกลับยังเมืองฝ่ายตน หลังจากนั้นจึงทำการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์จนกระทั่งสำเร็จและได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 6 ผอบไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์เป็นที่เรียบร้อย แต่ในการสร้างพระเจดีย์ครั้งนี้เป็นที่คับแค้นของเหล่าประชาราษฎร์ยิ่งนักเนื่องจากไม่ได้ร่วมก่อสร้างด้วย

ดังนั้นพระยาทั้งห้าจึงได้ปรึกษากันว่าพวกเราต้องสร้างใหม่อีกแห่งหนึ่งเพื่อที่จะให้ราษฎรในแต่ละหัวเมืองได้มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง แต่ในครั้งนี้ต้องสร้างเป็นวิหารเพื่อเป็นที่เก็บสิ่งของและจารึกประวัติพระธาตุไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เมื่อประชาชนในเมืองต่างๆ ทราบข่าว ต่างมีความยินดีที่จะได้ร่วมสร้างวิหารซึ่งวิหารนั้นจะต้องทำด้วยหินและหินนั้นต้องเป็นหินทะเลเมื่อตกลงกันแล้วพระยาทั้งห้าต่างก็แยกย้ายไปบอกข่าวแก่ประชาชนของตนให้ไปนำหินจากทะเลมาก่อสร้างพระวิหารโดยจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ กันไป ฝ่ายพระยาคำแดง หัวเมืองฝ่ายเหนือโกรธแค้นมากและทราบว่าผู้ที่มาแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุเป็นผู้ใด จึงได้ยกกำลังกองทัพลงมายังหัวเมืองฝ่ายใต้เพื่อพิจารณาขอร่วมสร้างด้วยเพราะรู้ว่าพระยาทั้ง 5 ได้ไปแย่งชิงเอาพระสารีริกธาตุจากตนมาแล้ว แต่พระยาทั้งห้าไม่ยอมจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้นอย่างรุนแรง เนื่องจากฝ่ายพระยาพุทธไม่ได้เตรียมกองกำลังป้องกันไว้จึงเสียเปรียบ ผลปรากฏว่าพระยาทั้งหมดเสียชีวิตคือพระยาคำแดงถูกพระยาพุทธฟันด้วยทวนคอขาด ส่วนพระยาฝ่ายใต้ก็เสียชีวิตทั้งหมดเช่นกัน ศพทั้งหมดได้ถูกเผาและนำมาฝังไว้ห่างจากพระธาตุกู่จานประมาณ 200 -300 เมตร ทั้ง 4 ทิศ สนามรบครั้งนั้นก็คือดอนกู่ในปัจจุบันซึ่งมีหินเรียงกันเป็นชั้นๆ อยู่ทางทิศเหนือของบ้านกู่จาน ห่างจากองค์พระธาตุกู่จานไปไม่มากนักส่วนศพของพระยาคำแดงชาวเมืองได้ช่วยกันเผาแล้วปั้นเป็นเทวรูปคอขาด ซึ่งปัจจุบันนี้พระพุทธรูปคอขาดได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดสมบูรณ์พัฒนา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เป็นวัดที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ส่วนข้าวของเงินทองของพระยาคำแดง ซึ่งนำลงมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือและของพระยาทั้งห้าของหัวเมืองฝ่ายใต้ ได้ถูกสาปให้จมธรณีเพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดทำลายและนำไปเป็นสมบัติส่วนตัว ส่วนชาวเมืองหัวเมืองฝ่ายใต้ที่พากันไปขนหินทะเลนั้น บางกลุ่มก็ยังไปไม่ถึง บางกลุ่มก็ไปถึง บางกลุ่มก็กลับมาถึงครึ่งทาง บางกลุ่มก็มาถึงแล้วแต่กลุ่มที่เดินทางไปก่อนหลังเมื่อทราบข่าวว่าเจ้าเมืองของตนตายก็พากันทิ้งหินไว้ตามที่ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเห็นอยู่หลายแห่ง เมื่อดอนกู่ได้เกิดศึกใหญ่มีคนตายมากมาย ชาวเมืองที่เหลืออยู่เสียขวัญจึงพากันอพยพถิ่นฐานไปหาที่สร้างเมืองใหม่ปล่อยให้พระธาตุกู่จานถูกทอดทิ้งมาตั้งแต่บัดนั้น จนกลายเป็นป่าทึบตามธรรมชาติเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิดหลายต่อหลายชั่วอายุคนที่ไม่อาจนับได้ จนกระทั่งบรรพบุรุษที่เดินทางมาจากบ้านปรี่เชียงหมีมาพบเข้าได้เห็นดีที่จะตั้งหมู่บ้านเพราะมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ดินอุดมสมบูรณ์จึงตั้งหมู่บ้านขึ้น และถางป่ามาพบพระธาตุแต่ไม่ทราบประวัติความเป็นมาของพระธาตุ จนมาถึงปี พ.ศ. 2521 จึงปรากฏว่ามีสามเณรถาวร อินกาย และเกิดอภินิหารขึ้นจนกลายเป็นเรื่องเล่าของประวัติพระธาตุกู่จาน
ลักษณะเด่น
มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมมีรูปทรงแบบธาตุอีสานทั่วไปโดยสร้างตามแบบพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ฐานล่างเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆรองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบๆต่อด้วยองค์เรือนธาตุทรงบัวเหลี่ยมประดับลวดลายและยอดธาตุทรงบัวเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด พระธาตุกู่จานคงสร้างขึ้นตามคตินิยมแบบเดียวกับการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จากรูปแบบของพระธาตุซึ่งได้รับอิทธิพลทางรูปแบบจากพระธาตุพนม สันนิฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
กลุ่มนักท่องเที่ยว
• กลุ่มครอบครัว
• กลุ่มผู้สูงอายุ
• กลุ่มวัยทำงาน
• กลุ่มนักเรียนนักศึกษา / เยาวชน / วัยรุ่น
• กลุ่มสตรี
• กลุ่มคู่รัก / คู่แต่งงาน
• กลุ่มท่องเที่ยวเชิงศาสนา
• กลุ่ม MICE / ศึกษาดูงาน
• กลุ่ม Volunteer Tourism
• กลุ่มศิลปวัฒนธรรม / ประวัติศาสตร์
• กลุ่มวิถีชีวิต / ชุมชน / วิถีเกษตร
การเดินทาง
• จักรยาน
• มอเตอร์ไซด์
• รถยนต์
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
สิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถ
สุขา
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านขายสินค้าที่ระลึก
ทางลาด
ห้องน้ำสำหรับคนพิการ
สาธารณูปโภค
ระบบน้ำใช้
• แหล่งน้ำธรรมชาติ
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
เรือนผักกูดเเป็นที่ตั้งของชมรมท่องเที่ยวเกษตรช้างกลาง เป็นศูนย์ประสานงานแหล่งท่องเที่ยวเกษตรและเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวเกษตรในกิ่งอำเภอช้างกลาง มีห้องประชุม ห้องพักและลานกิจกรรมไว้บริการ
นครศรีธรรมราช
ศูนย์ศึกษาพัฒนาการสังคมหมู่บ้าน(วนเกษตร) หรือ บ้านศานติธรรม ภายในอาณาบริเวณเกือบ 10 ไร่ มีพันะุ์ไม้กว่า 700-800 ชนิด เป็นสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ภายในมีเรือนไม้แบบไทยมุงด้วยกระเบื้องว่าว ใต้ถุนสูงสำหรับประชุมหรือบรรยาย ชั้นบนใช้เก็บและแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านวัตถุโบราณ ของใช้รุ่นเก่าต่างๆ ด้านหลังบ้านมียุ้งข้าวจำลองและอุปกรณ์นวดข้าว สีข้าว บริเวณบ้านส่วนหนึ่งจัดไว้เป็นที่สำหรับตั้งค่ายพักแรมสำหรับเยาวชน มีลานสันทนาการ และบริเวณทำกิจกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิบูลย์ เข็มเฉลิม
ฉะเชิงเทรา
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวช่วยอุดหนุน หลังแวะไปเสพวิวงามๆ สูดอากาศบริสุทธิ์ ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน ชิมอาหารท้องถิ่น แล้วยืนแอ็กท่าถ่ายรูปแบบชิลๆกับผลองุ่นสีสุดสวยแชร์ในเฟซบุ๊ก
กำแพงเพชร
กุดกะเหลิบ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ กุดกะเหลิบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ น้ำใสมองเห็นตัวปลา อยู่ในเขตตำบลหนองเป็ดและตำบลหนองหิน เดิมเป็นเพียงแหล่งน้ำที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม และจับสัตว์น้ำ้เพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น แต่ปัจจุบันจังหวัดยโสธร ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ โดยการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม เป็นที่จัดงานสงกรานต์ของจังหวัดทุกปี มีประชาชนได้มาเที่ยวชมและพักผ่อนอยู่เสมอในวันหยุด การเดินทางมาเที่ยว กุดกะเหลิบที่สะดวก คือเริ่มจากถนนยโสธร -อำนาจเจริญ กิโลเมตรที่ 14 (บ้านคำเกิด สังเกตจะมีแตงโมขายตามข้างทาง) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านหนองหงอก ไปบ้านหนองบก -บ้านโนนสวาท ก็จะถึงกุดกะเหลิบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ยโสธร
ภูถ้ำพระ เป็นถ้ำใหญ่กว้างประมาณ 3 วา ยาวประมาณ 8 วา ตั้งอยู่ชะง่อนภูด้านทิศใต้ มีทางเข้าไปตามซอกหิน ซึ่งตั้งสูงสุดตระหง่านอยู่รอบ ๆ เป็นอุโมงค์ จากปากถ้ำเลยไปทางทิศเหนือ สามารถเดินลอดไปได้อย่างสบาย ถ้ำพระนี้มีธรรมชาติ เป็น 2 ชั้น เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปซึ่งตั้งเรียงรายอยู่เป็นแถว ๆ และมี พระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระกัจจายนะ 2 องค์ สร้างสมัยอาจารย์ดี ฉันโน อยู่ในถ้ำนี้อย่างงดงาม ภูถ้ำพระ เป็นพื้นที่ภูเขาขนาดเล็ก เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มีป่าไม้เบญจพรรณขึ้นอยู่ทั่วไปค่อนข้างสมบูรณ์ ให้ความ ร่มรื่น อากาศเย็นสบาย เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยหลายแห่ง เสาหินลักษณะคล้ายแหล่งท่องเที่ยวภูผาเทิบ และมีจุดชมวิวเป็นแหล่งธรรมชาติที่สวยงามใกล้ทางขึ้นจะมีซุ้มประตูอิฐก่อเป็น “ภูโง” ชาวบ้านเรียกประตูโขง ซึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือของ ภูถ้ำพระ ไปไกลประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือเพียงซากปรักหักพัง ความศักดิ์สิทธิ์ของภูถ้ำพระที่ได้เล่าสืบทอดกันต่อมาคือ หากชาว บ้านบริเวณนั้นจะออกหาของป่า ต้องมาที่ถ้ำแห่งนี้เพื่อสักการะ แล้วจะมีโชคในการทำมาหากินและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง
ยโสธร
บุบเฟ่ต์ผลไม้ การทำกะราง ข้าวตังพื้นบ้าน การสานเสื่อคล้า รำตัดเด็ก
ระยอง
บรรยากาศภายในวัดร่มรื่น ทางเข้าโบสถ์เพื่อเข้าไปสักการะพระพุทธรูป เป็นซุ้มปรตูตกแต่งสวยงาม โดยด้านบนคือพระราหูอมจันทร์ อีกทั้งมีพญาต่อยักษ์ ให้เข้าไปกราบไหว้ขอโชคลาภ เชื่อว่าช่วยต่อเงิน ต่อทอง เมื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธ์เรียบร้อย สามารถเดินทางไปเที่ยวน้ำตกเอราวัณต่อได้ เนื่องจากวัดวังจาน อยู่ก่อนถึงน้ำตกเอราวัณ
กาญจนบุรี
บ้านใหม่พัฒนา​ จ.น่าน ชุมชนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสุขภาพด้วยสมุนไพรรอบตัวเป็นชุมชนเล็กบนที่ราบสูง มีลำน้ำเกี๋ยนไหลผ่าน ชาวบ้านในท้องถิ่นมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
น่าน
1. รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรม : ชมและศึกษากระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ สาธิตการทอเสื่อ การย้อมผ้าจากดินจากบ่อบารายศักศิ์สิทธ์ การชมฐานผลิตพืชผักสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพร เลือกซื้อของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์และผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์ OTOP ชิมอาหารพื้นบ้านในรูปแบบขันโตก ชมระบำนางอัปรา ปั่นจักรยานชมวิวทิวทัศน์ นอนบ้านพักโฮมสเตย์ ชมตลาดเช้าวิถีชุมชน 2. วิถีชีวิตชุมชน : วิถีชีวิตการทำการเกษตร การอยู่อาศัยของชาวบ้านอีสานใต้ ร่องรอยอารยธรรมขอม 3. การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว : ชม ชิม ช้อป แชะ แชร์ ลองปฏิบิติและเรียนรู้ตามฐานเรียนรู้ด้านการเกษตร โปรแกรมการท่องเที่ยว: 2วัน 1 คืน วันที่ 1 เข้าที่พัก เช่าจักรยาน เข้าชมฐานการผลิตข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ การชมฐานผลิตพืชผักสมุนไพรและการแปรรูปสมุนไพร รับประทานอาหารเที่ยงริมบาราย หลังจากนั้นเยี่ยมชมปราสาทเมืองต่ำ เย็นปั่นจักรยานชมรอบชุมชน ทำอาหารเย็นแบบพื้นบ้านที่โฮมสเตย์ (ขันโตก ชมระบำนางอัปราแล้วแต่ลูกค้าสั่งชมซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม) นอนบ้านพักโฮมสเตย์ วันที่ 2 เช้าชมตลาดเช้าวิถีชุมชน ตักบาตร ทานอาหารโอมสเตย์ ชมการสาธิตการทอเสื่อและการย้อมผ้าจากดินบ่อบารายศักศิ์สิทธ์ ทอผ้าลายผักกูด เลือกซื้อของที่ระลึกผ้าไหมลายผักกูด ศูนย์ OTOP ขึ้นเขาเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาพนมรุ้ง เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1.ปราสาทหินเมืองต่ำ ระยะทาง500 เมตร. 2. ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ระยะทาง 5 กม. 3. กลุ่มย้อมผ้าภูอัคนี อ.เฉลิมพระเกียรติ ระยะทาง 23 กม. 4. วัดเขาอังคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระยะทาง 25 กม.
บุรีรัมย์
สถานที่สำหรับเรียนรู้ด้านพืช ประมง ดิน ข้าว ปศุสัตว์ และชลประทาน
ระยอง
ผลิตและจำหน่าย ผักปลอดสารพิษ มากกว่า 50ชนิด และยังเปิดให้ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจปลูกผัก นอกจากผักสดแล้วยังมีกาแฟสด อุปกรณ์เพาะปลูกขายด้วย ไม่ว่าจะเป็น เมล็ดพันธุ์ ดินเพาะ ดินปลูก ถาด กระถาง รวมถึงฮอร์โมนนมสด
สระบุรี
กลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านปากแพรก ตั้งอยูตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง มีผลิตภัณฑ์แปรรูป/ของฝาก และยังสามารถศึกษาการเลี้ยงผึ้ง สำหรับคนที่สนใจการเลี้ยงผึ้ง
ระยอง