คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอมโนรมย์
ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอมโนรมย์ ตำบลหางน้ำสาคร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิตสูง จากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีมาก ทำให้สุขภาพทรุดโทรม เกิดโรคภัยกับชีวิตมนุษย์ จึงปรับเปลี่ยนแนวคิดปรับปรุงคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตโดยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
ประวัติความเป็นมา
องค์ความรู้ของเกษตรกรต้นแบบแปลงใหญ่อำเภอมโนรมย์ เรื่อง ลดต้นทุนการผลิตข้าว เกษตรกรเจ้าขององค์ความรู้ นายสมศักดิ์ แตงโพธิ์ เป็นผู้ผลิตเมล็ดข้าวด้วยตัวเอง และพบเห็นเพื่อนเกษตรกรผลิตข้าวมีต้นทุนการผลิตสูง ใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีมาก สุขภาพที่ทรุดโทรม จึงปรับเปลี่ยนแนวคิดปรับปรุงคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตโดยการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
ลักษณะเด่น
แหล่งศึกษาดูงานเรียนรู้การลดต้นทุนทางการเกษตร
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สายน้ำประวัติศาสตร์กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เปลี่ยนทุนธรรมชาติ เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว การท่องเที่ยวเชิงเกษตร "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เกิดจากแนวคิด ที่จะนำวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำอยู่เป็นกิจวัตร มาผสานกับ " ทุนธรรมชาติ" ที่มีอยู่ คือทรัพยากรด้านการเกษตร การทำสวน ทำไร่ ไถนา ที่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทำสืบเนื่องมาจนถึงรุ่นลูกหลาน มาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ คือคลองขุดมหาสวัสดิ์ คลองประวัติศาสตร์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเพื่อเป็นเส้นทางเสด็จฯ ไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เวลา 5 ปี จึงขุดเสร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 - 2403คลองขุดมหาสวัสดิ์ที่มีความยาว จากกรุงเทพ ถึงแม่น้ำท่าจีน 27 กิโลเมตร และมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคลองมากมาย เช่น การโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาริมคลอง ๗ ศาลา ยกตัวอย่างเช่นศาลากลาง (ตำบลศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี) ศาลาธรรมสพม์ (เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร)ศาลายา และศาลาดิน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอพุทธมณฑล อีกทั้งมีผู้ใช้นามสกุล ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยคำว่า "สวัสดิ์" ประมาณ 68 นามสกุล เช่น สวัสดิ์แดง สวัสดิ์จุ้น สวัสดิ์สรเดช สวัสดิ์นำ สวัสดิ์ดีมี ดีสวัสดิ์ ฯลฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว One Day Trip จุดที่ 1 ไปที่ท่าเทียบเรือ ณ วัดสุวรรณาราม โดยมีเกษตรกรต้อนรับจะนำนักท่องเที่ยวไปตามจุดต่าง ๆ จุดที่ 2 ชมการแปรรูปฟักข้าว และเรื่องราวก่อนจะมาเป็น เย็นตาโฟฟักข้าว และน้ำฟักข้าวเพื่อสุขภาพ จุดที่ 3  เที่ยวชมนาบัวหลวงตัดดอก เรียนรู้การทำนาบัว พายเรือเก็บบัวกลางบึง เรียนรู้การพับกลีบดอกบัว จุดที่ 4 เที่ยวชมมหัศจรรย์ข้าวตังไทย จุดที่ 5 สวนกล้วยไม้ เที่ยวชมสวนกล้วยไม้และการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ จุดที่ 6  เที่ยวชมการทำสวนผลไม้ ไร่นาสวนผสม ชิมผลไม้ตามฤดูกาล นั่งรถอีแต็กชมสวน และแปลงนาข้าว เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) เจษฎาเทคนิคมิวเซียม อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 21 กิโลเมตร    - ตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 25 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำดอนหวาย อำเภอสามพราน ระยะทาง 10 กิโลเมตร    - วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน ระยะทาง 15 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำลำพญา อำเภอบางเลน ระยะทาง 26 กิโลเมตร    - พุทธมณฑลสถาน อำเภอพุทธมณฑล ระยะทาง 6 กิโลเมตร    - องค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม ระยะทาง 36 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ข้าวตังหน้าต่างๆ - กล้วยหอมทองทอดกรอบ - เมี่ยงคำกลีบบัวหลวง - สินค้าตามฤดูการ เช่น ส้มโอ มะม่วง ขนุน กล้วย - ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกบัว และ ดอกกล้วยไม้
นครปฐม
สถานีวิจัยและฝึกอบรมที่สูง ใช้เป็นแปลงเพื่อศึกษาทดลองเกี่ยวกับพืช เป็นสถานที่ฝึกงานนักศึกษาทั้งในและนอกสถาบัน และ เป็นที่ศึกษาธรรมชาติ ให้แก่บุคคลผู้สนใจทั่วไป
เชียงใหม่
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา ในปี พ.ศ. 2539 บนเนื้อที่ 500 ไร่ ณ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ปทุมธานี