คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ไร่กาแฟดอยสะเก็ด
ไร่กาแฟดอยสะเก็ด ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 57000
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันจันทร์
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันอังคาร
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันพุธ
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันพฤหัสบดี
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันศุกร์
: 08:30 น. - 16:30 น.
• วันเสาร์
: 08:30 น. - 16:30 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
5.0
ความพร้อมสถานที่
5
ความคุ้มค่า
5
การให้บริการ
5
อ่านทั้งหมด >
จองเข้าร่วมกิจกรรม
วันที่
ผู้เข้าร่วม
{{item.Name}}
{{item.DayStr}}
{{item.PricePerPerson}}
{{item.Time}}
รายละเอียด
ไร่กาแฟของเรา ตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยทิวเขาสวยงาม บนความสูงเหนือระดับน้ำทะเลที่เหมาะสมกับการปลูกต้นกาแฟอราบิก้า อีกทั้งยังเป็นภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ทำให้มีปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะ มีดินที่อุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพดี ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อรสชาติ และคุณภาพของกาแฟของเรา
ประวัติความเป็นมา
ก้าวสู่อาณาจักรแห่งความทรงจำของคุณโชคชัย บูลกุล
ผู้ซึ่งสร้างตำนานแห่งคาวบอยไทยแห่งฟาร์มโชคชัยให้เป็นที่กล่าวขานมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ จากความมุ่งมั่นและความฝันในวัยเยาว์ที่เขาได้กล่าวว่า
สัมผัสความประทับใจกับหลากหลายของสะสมอันเต็มเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของทุกช่วงชีวิตที่ผ่านมา ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี
ลักษณะเด่น
‘โชคชัยสเต็คเฮ้าส์’ ตำนานภัตตาคารสเต็กเฮ้าส์ที่อยู่คู่คนไทยมาเป็นเวลากว่า 50 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเรามุ่งมั่นพัฒนาทั้งคุณภาพของสเต็ก รสชาติอาหาร มาตรฐานการบริการ และการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่า พร้อมทั้งความพึงพอใจสูงสุด เราคือ อันดับหนึ่งในเรื่องของสเต็ก การันตีด้วยความประทับใจ ที่เราได้สร้างไว้ให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ ตลอดมา
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (1)
5.0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
มีจุดเด่นคือผลผลิตที่การันตีคุณภาพตามระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศและระดับโลก (IFOAM, EU, COR) เพื่อนนำจำหน่ายส่งออกด้วยมาตรฐานคุณภาพเกรด A “สด ใหม่ พร้อมรับประทาน ” มีการจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกรมีคุณภาพดี มีกิจกรรมหลากหลาย อาทิเช่น เก็บผักสด ตัดแต่งผัก ท่องเที่ยวเยี่ยมชมฟาร์ม ดูงาน เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ฉะเชิงเทรา
สวนมังคุดไทย (สวนคุณปัญญา) มีต้นมังคุดกว่า 300 ต้น และผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน แก้วมังกร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสามารถมาชิมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ได้ท่านละ 150 บาท และมีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์
ระยอง
- บึงมหัศจรรย์น้ำดันทรายดูด - ป่าต้นน้ำ น้ำผุด - ดอกไม้สีดำ - ถ้ำน้ำลอด - ถ้ำประวัติศาสตร์สมรภูมิ - น้ำตกธารพฤกษาหรือน้ำตกบางคุย
สุราษฎร์ธานี
ตลาด 910 เป็นตลาดนัดขายสินค้าทางการเกษตรมากมาย ซึ่งเป็นผลผลิตจากเกษตรกรเหลือจากกินใช้ และนำมาแปรรูปขาย ตลาดก่อตั้งขึ้นเนื่องจากได้รับงบประมาณ จากโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน มีทุกวัน แต่โซนด้านหน้าจะมีในวันอาทิตย์ของสัปดาห์ นอกจากการขายสินค้าทางการเกษตรแล้ว ในช่วงเวลาเทศกาลสำหรับจะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนมาร่วมด้วย ตลาด 910 เป็นที่สนใจของประชาชนในท้องที่เป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ ตลาด 910 ยังได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับเขต ในการแข่งขันการประกวด โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
ชุมพร
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการปฏิบัติธรรม ให้นักท่องเที่ยวได้เดินเล่นชมวิวสวย ๆ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศิลปวัฒนธรรมอย่างแท้จริง ตลอดทั้งปีจะมีประเพณีบุญให้เที่ยวชมทั้ง 12 เดือน มีบุญใหญ่ ๆ ประจำฤดูกาลทั้ง 3 ฤดู
กำแพงเพชร
เป็นสวนผลไม้ขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีรถบริการให้นักท่องเที่ยวนั่งชมสวนและรับประทานผลไม้ในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ในช่วงฤดูผลไม้ ทั้ง เงาะ มังคุด ลำไย ส้มโอ ฯลฯ และในช่วงฤดูหนาว สวนละไมจะเปิดให้ชมไร่สตอเบอรี่ และ ทุ่งดอกคอสมอสสีสันสวยงาม และยังมีฟาร์มแกะเอาใจคนรักสัตว์ไว้ให้ป้อนนม และถ่ายรูปกับแกะแสนรู้อีกด้วย
ระยอง
ชาวบ้านบ้านนาต้นจั่น มีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีการทำผ้าหมักโคลนเป็นผ้าดีมีน้ำหนัก งดงามด้วยการหมักโคลนและการทอที่ซับซ้อน ชาวบ้านได้ปรับพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ยกแคร่ไม่ไผ่ทำเป็นที่นั่งกินข้าว ทำห้องน้ำ ส่วนที่เหลือยังคงสภาพป่าไว้ดังเดิม สันดอยแห่งนี้มีทัศนียภาพงดงาม สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในจุดเดียวกัน โฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่นมีประมาณ 23 หลัง แยกบ้านให้อยู่เป็น หลังหรืออยู่บ้านเดียวกับเจ้าของบ้าน ได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบ ที่พัก พร้อมห้องครัวอุปกรณ์ครบครัน ซื้ออาหาร ไปทำรับประทานเองสะดวกสบาย มีกิจกรรมปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่งพร้อมไกด์ชุมชนนำทาง ไปชมสวนผลไม้ของชาวบ้าน โปรแกรมการท่องเที่ยว : -พักโฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมดจำนวน 23 หลัง -ปั่นจักรยานชมวิถีชมุชนในหมู่บ้าน ชมสวนผลไม้และท้องทุ่ง -ชมวิธีการทำผ้าหมักโคลน การทอผ้าด้วยมือ ผ้ายกดอก และเลือกซื้อผ้าหมักโคลนตัดสำเร็จรูป -ชมวิธีการทำตุ๊กตาบาร์โหน (บ้านตาวงศ์) -ชมหัตถกรรมตอไม้ -ชมและชิมผลไม้ตามฤดูกาล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะม่วง มะปราง มะไฟ ลำไย -จุดชมวิว “ห้วยต้นไฮ” ชมทะเลหมอกพระอาทิตย์ -ชมและทดลองการทำข้าวเปิ๊ป อาหารท้องถิ่น จิบกาแฟในกระบอกไม้ไผ่ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย 30 กิโลเมตร - ร้านทองโบราณ ร้านเงินโบราณ 30 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติน้ำตกป่าคา 70 กิโลเมตร - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย) 77 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติรามคำแหง 110 กิโลเมตร
สุโขทัย
คาโนนะคาเฟ่ แฟ ฟิน ฟาร์ม เป็นการจำลองบรรยากาศสไตล์หมู่บ้านญี่ปุ่นโบราณ และมีสวนดอกไม้สให้ได้มาถ่ายภาพ
นครราชสีมา
เส้นทางถนนในถ้ำขรุขระ เมื่อขับไประยะหนึ่งมีน้ำตกไหลในอุโมงค์ มีน้ำไหลเหมือนลำธารตลอดปีเพราะอุโมงค์ขุดผ่านตาน้ำ ภายในอุโมงค์มีหินงอกหินย้อยงดงามที่ก่อตัวขึ้นบนผนังตลอดทางซ้ายขวา มีอุโมงค์แยก ซึ่งเป็นทางแยกที่ขุดไปตามสายแร่ ดังนั้นหากเข้ามาโดยไม่มีผู้นำทาง อาจจะหลงทางอยู่ในอุโมงค์มืดมิด สามารถเข้าชมได้ตลอดปี
กาญจนบุรี
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
กุดกะเหลิบ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ กุดกะเหลิบเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ น้ำใสมองเห็นตัวปลา อยู่ในเขตตำบลหนองเป็ดและตำบลหนองหิน เดิมเป็นเพียงแหล่งน้ำที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกรรม และจับสัตว์น้ำ้เพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น แต่ปัจจุบันจังหวัดยโสธร ได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และพักผ่อนหย่อนใจ โดยการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม เป็นที่จัดงานสงกรานต์ของจังหวัดทุกปี มีประชาชนได้มาเที่ยวชมและพักผ่อนอยู่เสมอในวันหยุด การเดินทางมาเที่ยว กุดกะเหลิบที่สะดวก คือเริ่มจากถนนยโสธร -อำนาจเจริญ กิโลเมตรที่ 14 (บ้านคำเกิด สังเกตจะมีแตงโมขายตามข้างทาง) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านหนองหงอก ไปบ้านหนองบก -บ้านโนนสวาท ก็จะถึงกุดกะเหลิบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร
ยโสธร
บุบเฟ่ต์ผลไม้ การทำกะราง ข้าวตังพื้นบ้าน การสานเสื่อคล้า รำตัดเด็ก
ระยอง