คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
สวนธรรมเจริญ
สวนธรรมเจริญ หมู่4 ตำบลนาตาขวัญ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
สวนมังคุดแปลงใหญ่ ชิมผลไม้สดจากสวน เที่ยวชมสวน รับประทานผลไม้กับบรรยากาศร่มรื่น เเละจำหน่ายผลไม้คุณภาพหลากหลาย ผลิตภัณฑ์แปรรูป ของฝาก ร้านกาแฟ
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ไร่องุ่นปรีดาฤทธิ์ของครูเมธี มูลฟูยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงหาอาชีพเสริมทำด้วยการปลูกองุ่นมาแทนพื้นที่ปลูกกล้วยกับอ้อย ต้นองุ่นให้ผลดก มีรสชาติหวานกรอบ อร่อยชุ่มลิ้น
กำแพงเพชร
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือที่ผ่านมา คือ การทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวสำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่ พันธุ์แอปเปิล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด และพันนอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ รวมทั้งองุ่นสำหรับรับประทานสด เพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
เลย
ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2523 เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีบทบาทหน้าที่หลักในการศึกษาวิจัย ทดสอบและประยุกต์เทคโนโลยีการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาการผลิตขยายและกระจายพันธุ์แมลงเศรษฐกิจ ตลอดจนการ ให้บริการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้นและการตรวจวินิจฉัยโรคและศัตรูของแมลงเศรษฐกิจ แก่เกษตรกร และผู้สนใจ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้มาทำความรู้จักและเรียนรู้วีถีชีวิตของผึ้งและแมลงเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมเพื่อศึกษาดูงานและท่องเที่ยวในจุดเรียนรู้ที่ศูนย์ฯ ได้จัดแสดง ได้แก่จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ชันโรง จิ้งหรีด ครั่ง นางพญาผึ้ง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และยังจัดให้มี จุดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “Honey Shop” ที่นักท่องเที่ยวสามารถชม ชิม และเลือกซื้อน้ำผึ้งแท้ คุณภาพดี และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ โปรแกรมการท่องเที่ยว : จุด/ฐานเรียนรู้ กิจกรรมที่น่าสนใจ 1.ผึ้งพันธุ์ เปิดบ้านผึ้งพันธุ์ (ทำความรู้จักกับผึ้งวงจรชีวิตและความเป็นอยู่ของผึ้งในรัง) การเลี้ยงและการดูแลจัดการตรวจสุขภาพผึ้ง การเก็บน้ำหวานเกสรดอกไม้ และยางไม้ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้งเบื้องต้น 2.ผึ้งโพรง ผึ้งโพรงผึ้งป่าสร้างรายได้ (ทำความรู้จักกับผึ้งโพรงและการสร้างรังตามธรรมชาติ เทคนิคการล่อเลี้ยงผึ้งโพรงแบบดั้งเดิม การเลี้ยงผึ้งโพรงแบบสมัยใหม่ การดูแลป้องกันศัตรูของผึ้งโพรง เทคนิคในการเก็บน้ำผึ้งคุณภาพดี 3.ชันโรง เปิดบ้านชันโรง (ทำความรู้จักกับผึ้งจิ๋วมหัศจรรย์สุดยอดนักผสมเกสร) เทคนิคการล่อเลี้ยงชันโรงจากธรรมชาติและ การขยายพันธุ์ พฤติกรรมการเก็บน้ำหวาน เกสร และยางไม้ของชันโรง การทำสารสกัดจากยางไม้และการใช้ประโยชน์ 4.จิ้งหรีด จิ้งหรีดแหล่งอาหารโปรตีนสำรองของโลก สายพันธุ์จิ้งหรีดที่มีการเลี้ยงเป็นการค้า เทคนิคการเลี้ยงและการจัดการที่ได้มาตรฐาน การแปรรูปจิ้งหรีดเป็นอาหาร จุด/ฐานเรียนรู้ กิจกรรมที่น่าสนใจ 5.ครั่ง ทำความรู้จักแมลงครั่ง/วงจรชีวิตและประโยชน์ แปลงพันธุ์ไม้ใช้เลี้ยงครั่ง เทคนิคการเลี้ยง ดูแลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เทคโนโลยีการคุ้มครองและอนุบาลพันธุ์ครั่งในช่วงฤดูแล้ง 6.นางพญาผึ้ง เปิดประสบการณ์ค้นหานางพญาราชินีของผึ้งในรัง กำเนิดนางพญาผึ้ง การทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ของราชินีผึ้ง เทคนิคการเพาะนางพญาผึ้ง 7.แปรรูปผลิตภัณฑ์ ชม/ชิม/สัมผัส ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากผึ้งของขวัญจากธรรมชาติ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ข้อแนะนำในการเลือกซื้อน้ำผึ้ง การนำผลิตภัณฑ์จากผึ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - สวนสัตว์กลางคืนเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ระยะทาง 750 ม. - อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ระยะทาง 1 กม. - วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) ระยะทาง 2.5 กม. - วัดพระธาตุดอยคำ ระยะทาง 4.4 กม. - ศูนย์หัตถกรรมบ้านถวาย ระยะทาง 10 กม. - เวียงกุมกาม ระยะทาง 11 กม.
เชียงใหม่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
สายน้ำประวัติศาสตร์กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เปลี่ยนทุนธรรมชาติ เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว การท่องเที่ยวเชิงเกษตร "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เกิดจากแนวคิด ที่จะนำวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำอยู่เป็นกิจวัตร มาผสานกับ " ทุนธรรมชาติ" ที่มีอยู่ คือทรัพยากรด้านการเกษตร การทำสวน ทำไร่ ไถนา ที่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทำสืบเนื่องมาจนถึงรุ่นลูกหลาน มาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ คือคลองขุดมหาสวัสดิ์ คลองประวัติศาสตร์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเพื่อเป็นเส้นทางเสด็จฯ ไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เวลา 5 ปี จึงขุดเสร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 - 2403คลองขุดมหาสวัสดิ์ที่มีความยาว จากกรุงเทพ ถึงแม่น้ำท่าจีน 27 กิโลเมตร และมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคลองมากมาย เช่น การโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาริมคลอง ๗ ศาลา ยกตัวอย่างเช่นศาลากลาง (ตำบลศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี) ศาลาธรรมสพม์ (เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร)ศาลายา และศาลาดิน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอพุทธมณฑล อีกทั้งมีผู้ใช้นามสกุล ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยคำว่า "สวัสดิ์" ประมาณ 68 นามสกุล เช่น สวัสดิ์แดง สวัสดิ์จุ้น สวัสดิ์สรเดช สวัสดิ์นำ สวัสดิ์ดีมี ดีสวัสดิ์ ฯลฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว One Day Trip จุดที่ 1 ไปที่ท่าเทียบเรือ ณ วัดสุวรรณาราม โดยมีเกษตรกรต้อนรับจะนำนักท่องเที่ยวไปตามจุดต่าง ๆ จุดที่ 2 ชมการแปรรูปฟักข้าว และเรื่องราวก่อนจะมาเป็น เย็นตาโฟฟักข้าว และน้ำฟักข้าวเพื่อสุขภาพ จุดที่ 3  เที่ยวชมนาบัวหลวงตัดดอก เรียนรู้การทำนาบัว พายเรือเก็บบัวกลางบึง เรียนรู้การพับกลีบดอกบัว จุดที่ 4 เที่ยวชมมหัศจรรย์ข้าวตังไทย จุดที่ 5 สวนกล้วยไม้ เที่ยวชมสวนกล้วยไม้และการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ จุดที่ 6  เที่ยวชมการทำสวนผลไม้ ไร่นาสวนผสม ชิมผลไม้ตามฤดูกาล นั่งรถอีแต็กชมสวน และแปลงนาข้าว เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) เจษฎาเทคนิคมิวเซียม อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 21 กิโลเมตร    - ตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 25 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำดอนหวาย อำเภอสามพราน ระยะทาง 10 กิโลเมตร    - วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน ระยะทาง 15 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำลำพญา อำเภอบางเลน ระยะทาง 26 กิโลเมตร    - พุทธมณฑลสถาน อำเภอพุทธมณฑล ระยะทาง 6 กิโลเมตร    - องค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม ระยะทาง 36 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ข้าวตังหน้าต่างๆ - กล้วยหอมทองทอดกรอบ - เมี่ยงคำกลีบบัวหลวง - สินค้าตามฤดูการ เช่น ส้มโอ มะม่วง ขนุน กล้วย - ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกบัว และ ดอกกล้วยไม้
นครปฐม
Rayong Smile Plants ศูนย์การเรียนรู้พืชกินแมลงจังหวัดระยอง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร Young Smart Farmer ที่ควรไปสักครั้งในชีวิต ตั้งอยู่ในต.นาตาขวัญ อ.เมืองระยอง เป็นศูนย์รวบรวมพันธุ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงกว่า 500 สายพันธุ์
ระยอง
เรือนผักกูดเเป็นที่ตั้งของชมรมท่องเที่ยวเกษตรช้างกลาง เป็นศูนย์ประสานงานแหล่งท่องเที่ยวเกษตรและเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวเกษตรในกิ่งอำเภอช้างกลาง มีห้องประชุม ห้องพักและลานกิจกรรมไว้บริการ
นครศรีธรรมราช
กลุ่มเลี้ยงผึ้งบ้านปากแพรก ตั้งอยูตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง มีผลิตภัณฑ์แปรรูป/ของฝาก และยังสามารถศึกษาการเลี้ยงผึ้ง สำหรับคนที่สนใจการเลี้ยงผึ้ง
ระยอง
ครูสมใจ บอกว่า ลิงก็เหมือนเด็กที่ซน ต้องสอนจากง่ายไปหายาก โดยจัดหลักสูตรดังนี้ เดือนที่ 1 ใช้มือ เดือนที่ 2 ใช้เท้า เดือนที่ 3 ท่ายืน ท่ากระโดด เดือนที่ 4 ไต่ราว เดือนที่ 5 ขึ้นต้น เดือนที่ 6 ฝึกงาน ฯลฯ ต้องสอนตัวต่อตัว ใช้สื่อกันด้วยสายตา และหัวใจ จนเชื่อใจและไว้วางใจกันฉันท์พี่น้อง
สุราษฎร์ธานี
การทำเกษตรตามแนวพระราชดำริ การเกษตรพอเพียงเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า และเป็นจุดแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรทฤษดีใหม่
แพร่
บ้านจำรุงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ สมาชิกเหมือนเป็นคนครอบครัวเดียวกันทั้งหมด แต่เดิมมีลุงสำเริง ดีนาน เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง “โอท็อปโบราณ” ก่อนจะพัฒนาเป็นศูนย์โอท็อปชาวบ้าน นำสินค้าผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนมาขาย นอกจากนี้ ยังเปิดแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ มีรถพาชมสวน ได้ทั้งการพักผ่อนใกล้ชิดธรรมชาติ และความรู้จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบชาวบ้าน ทั้งเกษตรพื้นบ้านไร้สารเคมี เกษตรธรรมชาติกองทัพมด เป็นตัวอย่างนำกลับไปใช้ได้จริง โดยเริ่มลงมือทำตั้งแต่ปีพ.ศ.2529 กระทั่งมีผลงานเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านที่เข้มแข็ง จากที่ประชุมกันในครัวเรือน กลายเป็นเครือข่ายองค์กรบ้านจำรุง ที่มีการประชุมร่วมกันทุกวันที่ 15 ของเดือน เป็นเวทีสาธารณะ หรือเวทีชาวบ้าน ที่มีทั้งเด็ก เยาวชน และคนแก่ เข้าร่วม ต่อมาปี พ.ศ.2549 จึงจัดตั้งเป็น “มหาวิทยาลัยบ้านนอก” เพื่อการเรียนรู้ของสังคม กระทั่งได้รับรางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากนั้นก็มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาศึกษาหาความรู้กันอย่างไม่ขาดสาย เป็นสิ่งที่ชาวบ้านภาคภูมิใจ
ระยอง
ภูเกษตร เป็นภูเขาสูง ลานหินกว้าง น้ำตกตาดฮังในฤดูฝน มีหินเป็นรูปร่างต่าง ๆ มากมายเกิดจากธรรมชาติ และมีหน้าผาสูงชัน เป็นที่ตั้งวัดภูเกษตร (ดานหินหัวนาค)
อำนาจเจริญ