คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม
ตั้งอยู่บริเวณบ้านแสงโสม 68/12 หมู่5 ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13160
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
ตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม ตลาดโบราณมหาเสน่ห์ ตั้งอยู่บริเวณบ้านแสงโสม เลขที่ 68/12 หมู่ที่ 5 ต.ขนอนหลวง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ห่างจากตัวอำเภอพระนครศรีอยุธยา11 กิโลเมตร ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2549 จนถึงปัจจุบันได้เปิดให้บริการเป็นเวลา 10 ปี เป็นตลาดเอกชนมีขนาดพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ มีแผงค้า 112 แผงค้า

ตลาดโก้งโค้ง เป็นตลาดย้อนยุคที่น่าสนใจแห่งหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นบ้านเรือนไทยหมู่ใหญ่ ที่คงความเป็นสถาปัตยกรรมไทยโบราณไว้อย่างเด่นชัด ซึ่งในอดีตเป็นด่านขนอน (ด่านเก็บภาษีในอดีต) และเป็นสถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิด ทั้งสินค้าในชุมชน และสินค้า ที่มาจากต่างเมือง คำว่าตลาดโก้งโค้ง มาจากการที่คนขายสินค้าจะนั่งอยู่บนพื้นดินคนที่มาซื้อจะต้องโก้งโค้งเพื่อเลือกดูสินค้าที่ตนสนใจ การโก้งโค้งของคนไทยนั้นทำได้สุภาพ นุ่มนวล เป็นกิริยาที่แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนในการซื้อขาย พ่อค้าแม่ค้าแต่งชุดไทยแบบชาวบ้าน ในปัจจุบันตลาดโก้งโค้งได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์ย้อนยุคในการเลือกซื้อสินค้าภูมิปัญญาชุมชนที่ถึงพร้อมด้วยคุณภาพ รสชาติ พร้อมกับน้ำใจไมตรีของพ่อค้าแม่ค้า
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
บุบเฟ่ต์ผลไม้ การทำกะราง ข้าวตังพื้นบ้าน การสานเสื่อคล้า รำตัดเด็ก
ระยอง
การทำเกษตรตามแนวพระราชดำริ การเกษตรพอเพียงเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า และเป็นจุดแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรทฤษดีใหม่
แพร่
พิกัด https://goo.gl/maps/qjPyiZ6hd2UhroWV6
สระบุรี
เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เชื่อมโยงกับบ้านศาลาดิน
นครปฐม
อาณาจักรสวนดอกไม้แห่งวังน้ำเขียว ‘ฟลอร่า พาร์ค’ อาณาจักรทุ่งดอกไม้นานาชนิดแห่งอำเภอวังน้ำเขียว ที่มีพื้นที่กว้างสุดลูกหูลูกตา ภายในมีดอกไม้เมืองหนาวสวยๆ ยังมีโซนโรส พาร์ค ที่เป็นสวนสวยเต็มไปด้วยดอกกุหลาบหลากสายพันธุ์ โดยจะได้พบกับสวนดอกไม้นานาพันธุ์ อุโมงค์ดอกไม้ กำแพงดอกไม้ และราชินีแห่งดอกไม้งาม รวมไปถึงพันธุ์ดอกไม้หายากที่สามารถเพาะพันธุ์ได้เฉพาะที่วังน้ำเขียวเท่านั้น
นครราชสีมา
พระธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ในเขตวัดพระธาตุก่องข้าวน้อย ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงทุ่งนาในเขตตำบลตาดทอง พระธาตุก่องข้าวน้อยเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 55 เมตร นอกจากนี้บริเวณด้านหลังพระธาตุมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่งก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้าจะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เชื่อกันว่าถ้าไม่ทำเช่นนี้ฝนจะแล้งในปีนั้น นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
ยโสธร
บรรยากาศภายในวัดร่มรื่น ทางเข้าโบสถ์เพื่อเข้าไปสักการะพระพุทธรูป เป็นซุ้มปรตูตกแต่งสวยงาม โดยด้านบนคือพระราหูอมจันทร์ อีกทั้งมีพญาต่อยักษ์ ให้เข้าไปกราบไหว้ขอโชคลาภ เชื่อว่าช่วยต่อเงิน ต่อทอง เมื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธ์เรียบร้อย สามารถเดินทางไปเที่ยวน้ำตกเอราวัณต่อได้ เนื่องจากวัดวังจาน อยู่ก่อนถึงน้ำตกเอราวัณ
กาญจนบุรี
ไร่สุขถวิล อินทผลัมเมืองช้าง จังหวัดสุรินทร์ 164 หมู่ 5 ตำบล หนองระฆัง อำเภอ สนม จังหวัด สุรินทร์ 32160
สุรินทร์
ภูหมากพริกเป็นป่าชุมชน ในเขตตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร อดีตพื้นที่บนภูสวนหนึ่งเคยเป็นแหล่งทำสวนพริกจนมีสภาพทรุดโทรม ต่อมาจึงได้รับการฟื้นฟูปลูกป่าให้กลับมาเขียวขจีอีกครั้ง หลังมีการดูแลอย่างจริงจังจากสำนักสงฆ์ภูหมากพริก ซึ่งพัฒนากลายเป็นวัดภูหมากพริกในเวลาต่อมาและปัจจุบันวัดกำลังอยู่ในระหว่างสร้างพระอุโบสถครึ่งไม้ครึ่งปูนหลังใหม่ท่ามกลางความร่มรื่นของธรรมชาติ คาดว่าเมื่อเสร็จสิ้นจะมีความสวยงามอย่างมากบนวัดภูหมากพริกมีความสงบร่มเย็น เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ร่มรื่น นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวเล็กๆ ซึ่งผู้ที่ขึ้นไปเยี่ยมชมวัดสามารถแวะไปได้อีกด้วย ทางเข้าจุดชมวิวอาจมองลำบากสักนิด สามารถสอบถามทางได้จากพระสงฆ์ภายในวัด
ยโสธร
ฟาร์มโคนม ไทย-เดนมาร์ค เป็นฟาร์มเลี้ยงโคนม ที่มีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่แรกๆ ของเมืองไทย พิกัด : https://goo.gl/maps/q9b524yJcqMwBAx88
สระบุรี
หมู่บ้านโพนฮาด เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งผักปลอดสารพิษ ข้าวอินทรีย์ แมลงเลิศรส ฟังเพลงกล่อมผัก เป็นแหล๋งปักพัดยศ แห่งเดียวในจังหวัดร้อยเอ็ด ตามคำขวัญที่ว่า หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ลือเลื่องแมลงเลิศรส พัดยศล้ำเลิศงานฝีมือ เลื่องลือผักปลอดสารพิษ ม่วนอีหลีประเพณีบุญบั้งไฟ พระเจ้าใหญ่ร่วมบูชา ตำนานพระยาฮาดพระยาทอน
ร้อยเอ็ด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร