คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ถนนคน เพ็ด-ซะ-บูน
ถนนคน เพ็ด-ซะ-บูน ถนนเพชรเจริญ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันศุกร์
: 16:00 น. - 21:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จัดตลาดจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชนในทางสัญจร และทางสาธารณะบริเวณถนนด้านข้าง และด้านหลังสำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 และในปี 2559 ได้ย้ายตลาดมาอยู่บริเวณถนนเพชรเจริญ ตั้งอยู่บริเวณ ด้านหน้าสถานีตำรวจภูธรเมืองเพชรบูรณ์ ถึงถนนด้านหน้าห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ถนนหลักเมืองถึงบริเวณศาลเจ้าเจ้าพ่อหลักเมือง และบริเวณหอโบราณคดีเพชรบูรณ์อินทราชัย โดยสินค้าของคนในชุมชนที่นำมาจำหน่ายมีความหลากหลาย ทั้งอาหารทั่วไป และอาหารพื้นบ้าน อีกทั้งเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ได้เปิดโอกาสให้ เยาวชน ผู้สูงอายุ กลุ่มชุมชน ประชาชนทั่วไป ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงต่อสาธารณชน เช่นการแสดงดนตรีหรือกิจกรรมของนักเรียน นักศึกษา กลุ่มการออกกำลังกายของชุมชน ชมรมผู้สูงอายุแสดงดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาค้าขาย
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สวนองุ่นสิริวัฒน์ เป็นไร่ที่มีองุ่นตลอดทั้งปี และสามารถเข้าชมสวนได้ พิกัด : https://goo.gl/maps/MH6JzZuwGFrjHeK76
สระบุรี
หมู่บ้านโพนฮาด เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งผักปลอดสารพิษ ข้าวอินทรีย์ แมลงเลิศรส ฟังเพลงกล่อมผัก เป็นแหล๋งปักพัดยศ แห่งเดียวในจังหวัดร้อยเอ็ด ตามคำขวัญที่ว่า หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ลือเลื่องแมลงเลิศรส พัดยศล้ำเลิศงานฝีมือ เลื่องลือผักปลอดสารพิษ ม่วนอีหลีประเพณีบุญบั้งไฟ พระเจ้าใหญ่ร่วมบูชา ตำนานพระยาฮาดพระยาทอน
ร้อยเอ็ด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
“คุ้งบางกะเจ้า” คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งที่เป็นบริเวณโค้งน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกระเพาะหมู ครอบคลุมพื้นที่กว้างถึง 6 ตำบลของ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ตำบลบางกะเจ้า ตำบลบางน้ำผึ้ง ตำบลบางกอบัว ตำบลบางกระสอบ ตำบลบางยอ และ ตำบลทรงคะนอง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 12,000 ไร่ เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2520 ได้มีมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ “คุ้งบางกะเจ้า” เป็นพื้นที่สีเขียว เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยไม่อนุญาตให้ทำการก่อสร้างตึกหรืออาคาร ที่มีความสูงเกินกว่าที่กำหนด และเมื่อปี 2549 นิตยสาร Time ได้ยกให้พื้นที่บางกระเจ้าเป็น The best Urban Oasis of Asia หรือที่เรียกว่า เป็นปอดกลางเมืองที่ดีที่สุดในเอเชียนั่นเอง แม้ระยะเวลาจะผ่านมาหลายสิบปี สถานที่แห่งนี้ยังถือว่าเป็น “ปอด” ฟอกอากาศให้กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรปราการ ได้อย่างดีเสมอมา กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ “คุ้งบางกะเจ้า” จะเป็นการปั่นจักรยานลัดเลาะ ไปเรื่อยๆ ในพื้นที่สีเขียวที่กำลังเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางปั่นจักรยานยอดฮิต เพราะเป็นเหมือนโอเอซิสผลิตออกซิเจนให้คนเมืองด้วยพื้นที่สวนกว่า 200 ไร่ ร่มรื่นเย็นชื้นเพราะมีต้นไม้นานาพันธุ์ มีไม้ใหญ่และ รากไทรปกคลุม บางพื้นที่มีอุโมงค์ต้นไม้ที่ตระการตา มีวิถีชีวิตเกษตรกรรม ที่น่าสนใจ และภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าค้นหา โดยมีจุดแวะชม และทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โปรแกรมการท่องเที่ยว 1. เยี่ยมชมสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ (มะม่วงน้ำดอกไม้คุ้งบางกะเจ้า มะม่วง GI ล่าสุดของไทย) โดย พ.ท.ชำนาญ อ่อนแย้ม ประธานชมรมผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้จังหวัดสมุทรปราการ ประธานวิสาหกิจชุมชน ผู้พันการเกษตร และเจ้าของสวนมะม่วงน้ำดอกไม้ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมจำหน่ายมะม่วง และกิ่งพันธุ์มะม่วง 2. เยี่ยมสวนไม้ประดับ (โกสน หมากแดง และหมากผู้หมากเมีย) โดย อาจารย์ณรงค์ สำลีรัตน์ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอพระประแดง กิจกรรมขยายพันธุ์ไม้ประดับ และอาจารย์สมศักดิ์ สำลีรัตน์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เป็นวิทยากรให้ความรู้ พร้อมจำหน่าย โกสน หมากแดง และหมากผู้หมากเมีย 3. ชมสวนเกษตรผสมผสานครบวงจร ของคุณสมนึก ฟักเจริญ Smart Farmer ตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 4. วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ กิจกรรมประกอบด้วย บริการนวดด้วยลูกประคบสมุนไพร สาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร จำหน่ายหมอนรองคอ, เข็มขัดธัญพืช, ลูกประคบ, หมอนคลุมไหล่ และหมอนกดจุด 5. วิสาหกิจชุมชนบ้านธูปหอมสมุนไพร กิจกรรมทำธูปหอมสมุนไพร ทำผ้ามัดย้อม บริการโฮมสเตย์ เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) (ทุกสถานที่อยู่ภายในคุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ)  - ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตำบลบางน้ำผึ้ง  - สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ตำบลบางกะเจ้า  - พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ตำบลบางกะเจ้า  - หอดูนก ตำบลบางกะเจ้า  - พิพิธภัณฑ์เรือ ตำบลบางกอบัว  - โกดังผักบางกะเจ้า สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - วิสาหกิจชุมชนหัตถศาสตร์เพื่อสุขภาพ  จำหน่ายหมอนรองคอ, เข็มขัดธัญพืช, ลูกประคบ, หมอนคลุมไหล่, หมอนกดจุด                                  - วิสาหกิจชุมชนบ้านธูปหอมสมุนไพร จำหน่ายธูปหอม, ผ้ามัดย้อม (กระเป๋า, เสื้อผ้า, ผ้าพันคอ)                       - น้ำตาลมะพร้าว                                                   - ไม้ประดับ เช่น โกสน, หมากแดง, หมากผู้หมากเมีย, อะโกนีม่า ฯลฯ  - ไม้ผล ได้แก่ มะม่วง, กิ่งพันธุ์มะม่วง, มะนาว, กิ่งพันธุ์มะนาว ฯลฯ                 - งานศิลปหัตถกรรมจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน  เช่น ไม้มงคลจากหินนำโชค, ดอกไม้จากเกล็ดปลา, ดอกไม้จากผ้าใยบัว
สมุทรปราการ
แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรอินทรีย์ มีทั้งที่พัก กิจกรรม คอร์สเรียนรู้ทางด้านการเกษตรและอาหารเป็นยา
เชียงราย
สวนไร่ทรัพย์ทวี บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ที่ 5 ตำบลคลองกระบือ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช
สวนดอกไม้มากาเร​็ต(ถ้ำปลา)​ ที่ตั้งอยู่ก่อนถึงลานจอดรถถ้ำปลา​ประมาณ 50​ เมตร​ ทางซ้ายมือ เนื้อที่ใช้ปลูกประมาณ ​2 ไร่​ ปลูกดอกไม้ทั้งหมด 3 ชนิด​ คือ​ ดอกมากาเร​็​ต, ดอกคัตเตอร์, ดอกผักเซี่ยงฝรั่งฯ
แม่ฮ่องสอน
สวนเกษตรปลูกผักปลอดสารเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
แพร่
ไร่สุขถวิล อินทผลัมเมืองช้าง 164 หมู่ 5 ตำบลหนองระฆัง อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ 32160
สุรินทร์
ไร่กาแฟของเรา ตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยทิวเขาสวยงาม บนความสูงเหนือระดับน้ำทะเลที่เหมาะสมกับการปลูกต้นกาแฟอราบิก้า อีกทั้งยังเป็นภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ทำให้มีปริมาณน้ำฝนที่พอเหมาะ มีดินที่อุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพดี ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อรสชาติ และคุณภาพของกาแฟของเรา
เชียงใหม่
สับปะรด ไอศกรีมสับปะรด น้ำสับปะรดสด
ระยอง
ชุมชนบ้านบัวเทิง ศูนย์แห่งการเรียนรู้วิถีชีวิตการดำรงชีวิตเพื่อความสุขอย่างพอเพียง การทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ และแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ ประโยชน์และการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพกับการเกษตร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคอีสานที่ร้อนและแห้งแล้ง
อุบลราชธานี