คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
ตลาดพันปีจัมปาศรีนคร
ตลาดพันปีจัมปาศรีนคร ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม 44180
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 08:00 น. - 19:00 น.
• วันจันทร์
: 08:00 น. - 19:00 น.
• วันอังคาร
: 08:00 น. - 19:00 น.
• วันพุธ
: 08:00 น. - 19:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 08:00 น. - 19:00 น.
• วันศุกร์
: 08:00 น. - 19:00 น.
• วันเสาร์
: 08:00 น. - 19:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
พระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม บริเวณที่ตั้งขององค์พระธาตุนาดูน แต่เดิมเป็นที่นาของ นายทองดี ปะวะภูตา ราษฎร หมู่บ้านนาดูน อันเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองโบราณนครจำปาศรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2522 มีการขุดพลสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสรหักสีขาวขุ่น คล้ายแก้วมุกดา ซึ่งบรรจุในผอบซ้อนนกันสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน และชั้นนอกเป็นสำริด รวมถึงพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก เมื่อกรมศิลปากรมาสำรวจพบว่า บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ นครจัมปาศรี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 -15 ต่อมาจึงได้สร้างองค์พระธาตุนาดูนขึ้นในบริเวณที่ขุดพบสถูป องค์พระธาตุมีความสูง 50.50 เมตร ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอาศัยแถบพุทธมณฑลอีสาน (พระบรมริกธาตุนาดูน) ได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าในบริเวณวงแหวนรอบในพระบรมธาตุนาดูน ทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ภายในบริเวณพระบรมธาตุนาดูน ในปี พ.ศ.2554 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาและอนุรักษ์พระบรมธาตุนาดูน จึงมีความเห็นให้ทำการก่อสร้างอาคารร้านค้า เพื่อเป็นการจัดระเบียบการจำหน่ายสินค้าให้เป็นระบบระเบียบมากยิ่งจึ้น ในการก่อสร้างอาคารร้านค้าทั้งหมด 3 หลัง จำนวน 40 ห้อง โดยให้ประชาชนที่มีเป็นผู้ประกอบการได้เช่า เพื่อหารายได้เข้ากองทุนพัฒนาและอนุรักษ์พระบรมธาตุนาดูน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเกษตรกรในชุมชนอีกด้วย
ที่มาข้อมูล
กรมการค้าภายใน
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: มีค่าใช้จ่าย
  - ต่างชาติ ผู้ใหญ่
:
  - ต่างชาติ เด็ก
:
  - ไทย ผู้ใหญ่
:
  - ไทย เด็ก
:
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สวนจะติดกับคลองชลประทาน ซึ่งจะมีลมพัดเย็นตลอดเวลา ภายในสวนบรรยากาศร่มรื่น มีการจัดเส้นทางเดินชมสวน และมีซุ้มสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อน รับประทานผลไม้ในสวนนานาชนิด โดยเอกลักษณ์ที่สำคัญของสวนผู้ใหญ่สมควรคือ ต้นมังคุด 100 ปี จะมีขนาดลำต้นที่ใหญ่ สูง และมีลักษณะเป็นพุ่มสวยงาม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุด 100 ปี คือ จะมีเปลือกบาง หวานอร่อยกว่ามังคุดทั่วไป โดยลูกจะมีขนาดไม่ใหญ่มากนักและผิวพรรณจะไม่นวลเนียนเท่าที่ควร แต่มีรสชาติอร่อย
ระยอง
สวนมังคุดแปลงใหญ่ ชิมผลไม้สดจากสวน เที่ยวชมสวน รับประทานผลไม้กับบรรยากาศร่มรื่น เเละจำหน่ายผลไม้คุณภาพหลากหลาย ผลิตภัณฑ์แปรรูป ของฝาก ร้านกาแฟ
ระยอง
สายน้ำประวัติศาสตร์กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เปลี่ยนทุนธรรมชาติ เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ลงตัว การท่องเที่ยวเชิงเกษตร "ล่องเรือชมสวนเลียบคลองมหาสวัสดิ์" เกิดจากแนวคิด ที่จะนำวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำอยู่เป็นกิจวัตร มาผสานกับ " ทุนธรรมชาติ" ที่มีอยู่ คือทรัพยากรด้านการเกษตร การทำสวน ทำไร่ ไถนา ที่พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทำสืบเนื่องมาจนถึงรุ่นลูกหลาน มาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ คือคลองขุดมหาสวัสดิ์ คลองประวัติศาสตร์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเพื่อเป็นเส้นทางเสด็จฯ ไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เวลา 5 ปี จึงขุดเสร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2398 - 2403คลองขุดมหาสวัสดิ์ที่มีความยาว จากกรุงเทพ ถึงแม่น้ำท่าจีน 27 กิโลเมตร และมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคลองมากมาย เช่น การโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาริมคลอง ๗ ศาลา ยกตัวอย่างเช่นศาลากลาง (ตำบลศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี) ศาลาธรรมสพม์ (เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร)ศาลายา และศาลาดิน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอพุทธมณฑล อีกทั้งมีผู้ใช้นามสกุล ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยคำว่า "สวัสดิ์" ประมาณ 68 นามสกุล เช่น สวัสดิ์แดง สวัสดิ์จุ้น สวัสดิ์สรเดช สวัสดิ์นำ สวัสดิ์ดีมี ดีสวัสดิ์ ฯลฯ โปรแกรมการท่องเที่ยว One Day Trip จุดที่ 1 ไปที่ท่าเทียบเรือ ณ วัดสุวรรณาราม โดยมีเกษตรกรต้อนรับจะนำนักท่องเที่ยวไปตามจุดต่าง ๆ จุดที่ 2 ชมการแปรรูปฟักข้าว และเรื่องราวก่อนจะมาเป็น เย็นตาโฟฟักข้าว และน้ำฟักข้าวเพื่อสุขภาพ จุดที่ 3  เที่ยวชมนาบัวหลวงตัดดอก เรียนรู้การทำนาบัว พายเรือเก็บบัวกลางบึง เรียนรู้การพับกลีบดอกบัว จุดที่ 4 เที่ยวชมมหัศจรรย์ข้าวตังไทย จุดที่ 5 สวนกล้วยไม้ เที่ยวชมสวนกล้วยไม้และการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ จุดที่ 6  เที่ยวชมการทำสวนผลไม้ ไร่นาสวนผสม ชิมผลไม้ตามฤดูกาล นั่งรถอีแต็กชมสวน และแปลงนาข้าว เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) เจษฎาเทคนิคมิวเซียม อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 21 กิโลเมตร    - ตลาดท่านา อำเภอนครชัยศรี ระยะทาง 25 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำดอนหวาย อำเภอสามพราน ระยะทาง 10 กิโลเมตร    - วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน ระยะทาง 15 กิโลเมตร    - ตลาดน้ำลำพญา อำเภอบางเลน ระยะทาง 26 กิโลเมตร    - พุทธมณฑลสถาน อำเภอพุทธมณฑล ระยะทาง 6 กิโลเมตร    - องค์พระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม ระยะทาง 36 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน ข้าวตังหน้าต่างๆ - กล้วยหอมทองทอดกรอบ - เมี่ยงคำกลีบบัวหลวง - สินค้าตามฤดูการ เช่น ส้มโอ มะม่วง ขนุน กล้วย - ไม้ดอกไม้ประดับ ดอกบัว และ ดอกกล้วยไม้
นครปฐม
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบครบวงจร ภายในมีทั้งห้องพัก แพพัก ร้านอาหาร คาเฟ่ สระว่ายน้ำ และรางรถไฟนั่งชมบรรยากาศ นั่งได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยซื้อตั๋วนั่งรถไฟ 1. ผู้ใหญ่ 90 บาท/คน 2. เด็ก 50 บาท/คน 3. เด็กความสูงไม่ถึง 100 ซม. ฟรี
กาญจนบุรี
มีจุดเด่นคือผลผลิตที่การันตีคุณภาพตามระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศและระดับโลก (IFOAM, EU, COR) เพื่อนนำจำหน่ายส่งออกด้วยมาตรฐานคุณภาพเกรด A “สด ใหม่ พร้อมรับประทาน ” มีการจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกรมีคุณภาพดี มีกิจกรรมหลากหลาย อาทิเช่น เก็บผักสด ตัดแต่งผัก ท่องเที่ยวเยี่ยมชมฟาร์ม ดูงาน เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ฉะเชิงเทรา
ฟาร์มสายทอง ภายในฟาร์มปลูกพันธุ์ไม้หลากหลาย เช่น สวนมัลเบอร์รี่, เสาวรส, หมามุ่ยอินเดีย ฯลฯ พิกัด : https://goo.gl/maps/8TVTF7aQG5gtMS1fA
สระบุรี
กินทุเรียนสดๆ ใหม่ๆในสวน ที่สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ดวิถีธรรมชาติ เราพร้อมมอบประสปการณ์การกินทุเรียนที่แตกต่าง จากที่คุณเคยสัมผัสมา สวนทุเรียนจันทบุรี ป้าอิ๊ด เริ่มปลูกอย่างเป็นทางการ เมื่ิอเดือน กรกฏาคม 2563 ภายใต้แนวคิดทุเรียนที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ #สวนทุเรียนจันทบุรี ด้วยสภาพภูมิประเทศ ดินปนทราย จึงทำให้น้ำไม่ขัง เนื้อทุเรียน จึง มีความแห้ง+มัน อร่อยและมีความแตกต่างอย่างชัดเจน หน้าที่ของคุณคือ "มีความสุขกับการกินทุเรียน" ที่เหลือ คือหน้าที่เรา สวนทุเรียนจันทบุรี
จันทบุรี
ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนตำบลสิบเอ็ดศอก แหล่งองค์ความรู้ สามารถเข้ามาศึกษาดูงาน เรียนรู้ลงมือปฏิบัติ ตามรอยเท้าพ่อ
ฉะเชิงเทรา
เป็นหมู่บ้านโครงการนำร่องหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรซึ่งชาวสวนทุเรียนในหมู่บ้านนี้ได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรโดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพดีบ้านซำตารมย์” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร และตรวจรับรองคุณภาพผลผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร ทำให้กลุ่มฯ กล้ารับประกันในเรื่องของคุณภาพผลผลิตของสมาชิก ประธานกลุ่มคือ นายทศพล สุวะจันทร์ ซึ่งเป็นเจ้าของสวนทศพล ที่เป็นจุดเชื่อมเครือข่ายในการท่องเที่ยวเกษตรมีผลผลิตทางการเกษตรตลอดทั้งปี ได้แก่ เงาะ ทุเรียน สะตอ มังคุด ลองกอง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสวนทับทิม ซึ่งเป็นอีกจุดที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสวน พร้อมทั้งสามารถเลือกซื้อผลไม้ได้อย่างสะดวกสบาย พร้อมทั้งยังมี “กระเทียมโทนดองน้ำผึ้ง” เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ที่มีชื่อเสียงของชุมชน นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมกิจกรรมชิมผลไม้สดๆ จากสวน ร่วมเรียนรู้วิถีชีวิตชาวสวนผลไม้ภาคอีสานตอนล่าง ศึกษาวัฒนาธรรมชุมชน และสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวแหล่งใกล้เคียงได้อีกด้วย โปรแกรมการท่องเที่ยว: - แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ น้ำตกสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ ระยะทาง 25 กิโลเมตร - วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว (วัดล้านขวด) อำเภอขุนหาญ ระยะทาง 60 กิโลเมตร - แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนไม้ผลตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษ์ ระยะทาง 14 กิโลเมตร - แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ผามออีแดง อำเภอกันทรลักษ์ ระยะทาง 105 กิโลเมตร เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ: 1. น้ำตกสำโรงเกียรติ ระยะทาง 25 กม. 2. วัดล้านขวด ระยะทาง 60 กม.
ศรีสะเกษ
สวนที่ 1 สวนสละเฮียถึก สำหรับผู้ที่ชอบทานสละ มาที่นี้รับรองจะติดใจในรสชาติและอัธยาศัยที่น่ารักเป็นกันเองของเจ้าของสวน สวนสละเฮียถึกให้บริการชมสวน ชมวิถีชีวิตชาวสาน และชิมผลไม้ มีผลไม้สดไว้ให้ซื้อหากลับบ้านกันด้วย กิจกรรม : กินผลไม้ (400บาท/คน)ชมสวน เรียนรู้การทำสวนสละ จำหน่ายผลไม้สด สวนที่ 2 สวนอิสรีย์ฟาร์มม้าไทย เหมาะทั้งแบบครอบครัว มาเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง หรือต้องการส่วนตัว กิจกรรม - เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ - การขี่ม้าชมสวนผลไม้ - นั่งรถรางชมสวนผลไม้ - จุดเรียนรู้การทำสบู่ - อาชาบำบัด - สาธิตการแปรรูปทุเรียนชิมทุเรียนหนุบหนับ เค้ก - กินผลไม้ ท่านละ 400 บาท - ที่พักโฮมสเตย์ สวนที่ 3 สวนวดี กิจกรรม - ชมสวน - กินผลไม้ ท่านละ 400 บาท - จำหน่ายผลไม้สด สวนที่ 4 สวนอรุณบูรพา ที่นี้ให้บริการชมสวย ชิมผลไม้ และซื้อผลผลิตกลับบ้าน ออกมาแวะเที่ยววัดเขาสุกิมชมความงดงามของพิพิธภัณฑ์วัดเขาสุกิม กิจกรรม - ปั่นจักรยานชมสวน - เรียนรู้วิธีการแปรรูปผลไม้ เช่น ทุเรียนทอด แครกเกอร์ทุเรียน- เรียนรู้วิธีการปลูกและการดูแลสวนทุเรียน - กินผลไม้ (400 บาทต่อคน ) สวนที่ 5 สวนรินรดี กิจกรรม - มีที่พักระดับโรงแรม จำนวน 3 ห้อง พร้อมอาหารเช้า รับได้ 10 ท่าน ( มีห้องสำหรับ 2 คน 1ห้อง และสำหรับ4 ท่าน 2 ห้อง) - มีบริการ wifi - มีระบบความปลอดภัย มีกล้องวงจรปิด - มีกิจกรรมเที่ยว ชม ชิม ทานผลไม้ อิ่มไม่อั้น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง - มีรถพาไปผจญภัยในสวนผลไม้ ไปดูทุเรียนพันธุ์อีหนัก ดูต้นสาละ และเดินเล่นในสวนผลไม้ - มีสนามเด็กเล่น ชิงช้า ม้าหมุน สะพานโค้ง - มีห้องน้ำ หญิง ชาย และคนพิการ - บนจุดชมวิว สามารถมองเห็น เขาคิชกูฎ เขาสุกิม เขาแกลบ เขาลูกช้าง - มาดูกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า - มีผลไม้และผักในสวนจำหน่าย เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง ในราคาถูก โปรแกรมการท่องเที่ยว เที่ยวชมสวน ไม่ทานผลไม้ ท่านละ 50 บาท เที่ยวชมสวน ทานผลไม้ ท่านละ 400 บาท ที่พัก รวมอาหารเช้า  สำหรับ 2 ท่าน ราคา 990 บาท  สำหรับ 4 ท่านราคา 1,990 บาท  ท่านที่มาพักและทานผลไม้จะเหลือเพียงท่านละ 350 บาท จากราคา 400 บาท ปฏิทินท่องเที่ยว ที่พัก เที่ยวชมสวน = ทั้งปี เที่ยวชมสวน/ทานผลไม้ = ปลายเมษา- ปลายกรกฎา หรือจนกว่าผลไม้จะหมด สินค้า ทุเรียนทอดกรอบ ทุเรียนกวน พริกไทย ผลไม้สด เงาะ มังคุด ลองกอง ทุเรียน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ (พร้อมระยะทาง/กม.) -  วัดเขาสุกิม  ระยะทาง 8 กิโลเมตร - หาดเจ้าหลาว อำเภอท่าใหม่ ระยะทาง 25  กิโลเมตร - น้ำตกกระทิง อำเภอเขาคิชฌกูฏ  ระยะทาง 20 กิโลเมตร - ศาลหลักเมือง   ระยะทาง 20 กิโลเมตร -  ตลาดชุมชนริมน้ำ ระยะทาง 20  กิโลเมตร -  อู่ต่อเรือเสม็ดงาม ระยะทาง 25  กิโลเมตร -  ท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชาบายศรี ระยะทาง 15 กิโลเมตร สินค้าวิสาหกิจชุมชนในชุมชน - ผลไม้สดตามฤดูกาล - ทุเรียนทอด - ทุเรียนกวน - แครกเกอร์ทุเรียน - พริกไทย - เค้กทุเรียน
จันทบุรี
ศูนย์ฯนี้ มีเครื่องกลั่นสมุนไพรไล่แมลง อาทิ ตะไคร้หอม บระเพ็ด เพื่อนำไปฉีดในไร่และสวนผัก อีกเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องอบพลีงงานแสงอาทิตย์ สนับสนุนโดยกระทรวงพลังานได้มามอบให้เพื่อใช้อบชาดาวเรือง สรรพคุณคือบำรุงสายตา ลดความดัน ซึ่
ระยอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร