คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
นาขั้นบันได
นาขั้นบันได ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน 55220
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
อยู่ในเวลาปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
“สีเขียว” มักเยียวยาหัวใจให้สดชื่น ช่วยให้สบายตา สบายใจ ยิ่งในช่วงอากาศเย็น ๆ ของฤดูฝน “นาขั้นบันได โครงการปิดทองหลังพระ” อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน อีกปลายทางที่ไม่ควรพลาดวิวท้องนาข้าวสีเขียว ที่ปกคลุมทั้งเขาน้อยใหญ่ เป็นภาพทิวทัศน์ที่คุ้มค่าแก่การมาถึง จากทุ่งนาข้าว พักจิบกาแฟเคล้าวิวหมอก กับกาแฟเจี๊ยงลั๊วะ กาแฟอาราบิก้าคุณภาพดีแห่งหนึ่งของ จ.น่าน ก่อนมุ่งหน้า สู่อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณไม้ที่สวยงามในหน้าฝน
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
ที่นี่ บ้านนาสวนสามขา อำเภอสันติสุข สัมผัสวิถีเนิบช้ากับยามเช้าอันแสนสงบ เที่ยวชมท้องทุ่งสีเขียวอ่อน ในหน้าฝน สูดดิน กลิ่นโคลน สุดสดชื่นระรื่นตา กับบรรยากาศชายทุ่งเดินเล่นทอดน่องพักผ่อนสบายๆ กินอยู่ง่ายๆ เก็บพืชผักสวนครัวในบ้าน นำมาปรุงอาหาร เป็นเมนูในท้องถิ่น แค่นี้ก็อิ่มอร่อยมีเวลาเหลือๆ ลงแปลงเพาะกล้า ทำนาโยน เรียนรู้การเกษตรวิถีใหม่ บางคนไม่ใช่เกษตรกรโดยตรง ไม่เคยดำนา มาท่องเที่ยว อยากเดินย่ำโคลนโยนข้าว สัมผัสสายลม และท้องทุ่งขนต้นกล้าที่เพาะไว้ไปแปลงนา เดินป่าๆ โยนๆ แบบซิวๆ ไม่ต้องก้มให้เมื่อย ยิ่งแดดร่ม ลมตกแบบนี้สบายๆ
น่าน
สวนองุ่นแวงเดอร์เรย์ (Vin De Ray) เป็นสวนองุ่นที่คัดสรรพันธุ์องุ่นสำหรับการผลิตไวน์โดยเฉพาะ พิกัด : https://goo.gl/maps/TAiSBmBywwVD5ek86
สระบุรี
ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2523 เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีบทบาทหน้าที่หลักในการศึกษาวิจัย ทดสอบและประยุกต์เทคโนโลยีการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาการผลิตขยายและกระจายพันธุ์แมลงเศรษฐกิจ ตลอดจนการ ให้บริการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์เบื้องต้นและการตรวจวินิจฉัยโรคและศัตรูของแมลงเศรษฐกิจ แก่เกษตรกร และผู้สนใจ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้มาทำความรู้จักและเรียนรู้วีถีชีวิตของผึ้งและแมลงเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมเพื่อศึกษาดูงานและท่องเที่ยวในจุดเรียนรู้ที่ศูนย์ฯ ได้จัดแสดง ได้แก่จุดเรียนรู้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ชันโรง จิ้งหรีด ครั่ง นางพญาผึ้ง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และยังจัดให้มี จุดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “Honey Shop” ที่นักท่องเที่ยวสามารถชม ชิม และเลือกซื้อน้ำผึ้งแท้ คุณภาพดี และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ โปรแกรมการท่องเที่ยว : จุด/ฐานเรียนรู้ กิจกรรมที่น่าสนใจ 1.ผึ้งพันธุ์ เปิดบ้านผึ้งพันธุ์ (ทำความรู้จักกับผึ้งวงจรชีวิตและความเป็นอยู่ของผึ้งในรัง) การเลี้ยงและการดูแลจัดการตรวจสุขภาพผึ้ง การเก็บน้ำหวานเกสรดอกไม้ และยางไม้ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผึ้งเบื้องต้น 2.ผึ้งโพรง ผึ้งโพรงผึ้งป่าสร้างรายได้ (ทำความรู้จักกับผึ้งโพรงและการสร้างรังตามธรรมชาติ เทคนิคการล่อเลี้ยงผึ้งโพรงแบบดั้งเดิม การเลี้ยงผึ้งโพรงแบบสมัยใหม่ การดูแลป้องกันศัตรูของผึ้งโพรง เทคนิคในการเก็บน้ำผึ้งคุณภาพดี 3.ชันโรง เปิดบ้านชันโรง (ทำความรู้จักกับผึ้งจิ๋วมหัศจรรย์สุดยอดนักผสมเกสร) เทคนิคการล่อเลี้ยงชันโรงจากธรรมชาติและ การขยายพันธุ์ พฤติกรรมการเก็บน้ำหวาน เกสร และยางไม้ของชันโรง การทำสารสกัดจากยางไม้และการใช้ประโยชน์ 4.จิ้งหรีด จิ้งหรีดแหล่งอาหารโปรตีนสำรองของโลก สายพันธุ์จิ้งหรีดที่มีการเลี้ยงเป็นการค้า เทคนิคการเลี้ยงและการจัดการที่ได้มาตรฐาน การแปรรูปจิ้งหรีดเป็นอาหาร จุด/ฐานเรียนรู้ กิจกรรมที่น่าสนใจ 5.ครั่ง ทำความรู้จักแมลงครั่ง/วงจรชีวิตและประโยชน์ แปลงพันธุ์ไม้ใช้เลี้ยงครั่ง เทคนิคการเลี้ยง ดูแลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เทคโนโลยีการคุ้มครองและอนุบาลพันธุ์ครั่งในช่วงฤดูแล้ง 6.นางพญาผึ้ง เปิดประสบการณ์ค้นหานางพญาราชินีของผึ้งในรัง กำเนิดนางพญาผึ้ง การทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ของราชินีผึ้ง เทคนิคการเพาะนางพญาผึ้ง 7.แปรรูปผลิตภัณฑ์ ชม/ชิม/สัมผัส ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากผึ้งของขวัญจากธรรมชาติ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ข้อแนะนำในการเลือกซื้อน้ำผึ้ง การนำผลิตภัณฑ์จากผึ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจำวัน เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : - สวนสัตว์กลางคืนเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ระยะทาง 750 ม. - อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ระยะทาง 1 กม. - วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) ระยะทาง 2.5 กม. - วัดพระธาตุดอยคำ ระยะทาง 4.4 กม. - ศูนย์หัตถกรรมบ้านถวาย ระยะทาง 10 กม. - เวียงกุมกาม ระยะทาง 11 กม.
เชียงใหม่
เป็นสวนผลไม้ขนาดใหญ่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีรถบริการให้นักท่องเที่ยวนั่งชมสวนและรับประทานผลไม้ในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ในช่วงฤดูผลไม้ ทั้ง เงาะ มังคุด ลำไย ส้มโอ ฯลฯ และในช่วงฤดูหนาว สวนละไมจะเปิดให้ชมไร่สตอเบอรี่ และ ทุ่งดอกคอสมอสสีสันสวยงาม และยังมีฟาร์มแกะเอาใจคนรักสัตว์ไว้ให้ป้อนนม และถ่ายรูปกับแกะแสนรู้อีกด้วย
ระยอง
บ้านใหม่พัฒนา​ จ.น่าน ชุมชนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสุขภาพด้วยสมุนไพรรอบตัวเป็นชุมชนเล็กบนที่ราบสูง มีลำน้ำเกี๋ยนไหลผ่าน ชาวบ้านในท้องถิ่นมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
น่าน
ปัจจุบันมีสวนเนื้อที่ 11 ไร่ ที่ทำไปแล้ว 7 ไร่ ในสวนจะมีหม่อน แบล็คเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ มะนาวโห่ ส่วนของหม่อนนี้มีทั้งหมด 15 สายพันธุ์ พันธุ์หลักๆ ก็คือกําแพงแสน เป็นเกษตรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer จังหวัดระยอง
ระยอง
ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก การมาเที่ยวชมศูนย์ฯ แห่งนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย เว้นแต่ว่ามากันเป็นหมู่คณะ และต้องการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ ได้จัดขึ้น ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ ที่จะทำให้เข้าใจเรื่องราวของคำว่า "พอเพียง" และการใช้ทรัพยากรอย่างไรให้ได้ประโยชน์และรู้คุณค่ามากที่สุด การเดินเที่ยวชมที่แห่งนี้ เดินชมได้เป็นลักษณะคล้ายวงกลม โดยเริ่มจาก โซนภาคเหนือ ตื่นตาไปกับการปลูกไม้ไผ่ชนิดต่างๆ สองข้างทาง รวมทั้งความน่ารักของสะพานไม้ไผ่ บ้านที่สร้างจากไม้ไผ่ริมสระบัว และเครื่องเล่นที่ทำจากไม้ไผ่ ที่จัดแสดงแบบนี้ เป็นเพราะต้องการให้ได้รู้ว่าไม้ไผ่สามารถทำประโยชน์อะไรได้มากมาย รวมทั้งทำรางหยดน้ำ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้และรดดินแทนคนอีกด้วย เดินขึ้นไปตามภูเขาก้อนเล็กๆ เรียนรู้เรื่องภูเขาป่า การตะบันน้ำ คือ การที่ใช้น้ำอัดน้ำขึ้นที่สูงแทนการใช้เครื่องปั๊มน้ำ ระบบป่าเปียกกันไฟ ประโยชน์ของหญ้าแฝก และการทำฝายชะลอความชุ่มชื้น เดินต่อไปยัง โซนภาคกลาง เรียนรู้เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ของตัวเองอย่างคุ้มค่า เรียนรู้การสร้างบ้านดิน และเรื่องสมุนไพรนานาชนิด แล้วก็เดินไปยัง โซนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชมธนาคารข้าว เรียนรู้เรื่องการสีข้าว การเลี้ยงปศุสัตว์ แอบเห็นวัวตัวเบ่อเริ่มอยู่ในคอกด้วย การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง จะได้ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี และได้เรียนรู้เรื่องการห่มดิน จากที่พื้นที่ที่ไม่มีดิน ต้องใช้วิธีห่มดิน เพื่อให้ได้ดินดีๆ กลับมาปลูกพืชผัก แต่จะทำอย่างไร อยากให้ไปเรียนรู้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด สุดท้ายไปยัง โซนภาคใต้ ไปดูการเผาถ่านที่ทำจากไม้ไผ่ การทำน้ำมันไบโอดีเซล และเรียนรู้โครงการแก้มลิง นอกจากนี้ตลอดภายในศูนย์ฯ ฉันเห็นว่าจะมีร่องน้ำขนาดใหญ่และเล็กตลอดเส้นทาง มีสระน้ำ มีแปลงเกษตรปลูกพืชผัก มีกังหันน้ำชัยพัฒนา มีการปลูกหญ้าแฝกในน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย จบการเดินเที่ยวชม ที่รับสาระความรู้และความเพลิดเพลินเดินอย่างไม่รู้เหนื่อยกันไป เดินชม ตาดู หูฟังและปากถามเจ้าหน้าที่ไม่ลดละ เพียงเพราะว่าสิ่งที่เราคิดว่า ‘เรารู้' กลายเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นั่นเป็นเพราะความเคยชินกับโครงการต่างๆ หรือทฤษฎีต่างๆ แต่ไม่เคยปฏิบัติหรือมาสัมผัสจริง การเดินทาง : จากแยกรังสิต ไปทาง อ.องครักษ์ มุ่งหน้าไปใช้เส้นนครนายก-น้ำตกนางรอง ผ่านวังตะไคร้ ก่อนถึงน้ำตกนางรอง 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าโครงการเขื่อนขุนด่านปราการชล ตรงไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงวงเวียน (มีรูปปั้นช้าง) วนขวาข้ามสะพาน ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาตรงไปอีก 200 เมตร ศูนย์ฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ
นครนายก
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดพะเยา (เกษตรที่สูง) ตั้งอยู่บนความสูงจากน้ำทะเล 908 เมตร มีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็นตลอดทั้งปี สภาพพื้นที่เป็นสันเขา ตั้งอยู่ในบริเวณวนอุทยานภูลังกา จากที่ตั้งศูนย์สามารถมองเห็นทิวทัศน์ยอดดอยภูลังกา ซึ่งมีตำนานเล่าขานว่า ในอดีตช่วงก่อนวันพระขึ้น 15 ค่ำ ชาวเขาด้านล่างซึ่งเป็นชนเผ่าเมี่ยน จะมองเห็นแสงสว่างขาวนวลส่องเป็นประกายเหมือนแท่งหน่อไม้คู่ บนยอดภูลังกา ทำให้ชาวบ้านบางคนเกิดความสงสัย บางคนถึงขนาดมานอนค้างอ้างแรมกันข้างบนภูลังกา แต่ก็ไม่พบอะไร แต่พอกลับลงไปก็พบแสงสว่างที่ว่านั้นในวันพระ ขึ้น 15 ค่ำอีก ชาวบ้านแถบนี้จึงเชื่อกันว่า แสงเหล่านั้นเกิดจากการชุมนุมกันของเหล่าเทวดา เชื่อว่า บนภูลังกาแห่งนี้ เป็นที่สถิตของเทพ เทวดา ทุกๆปีจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้ เพื่อให้ท่านช่วยปกปักรักษา ชาวเมี่ยนจึงเรียก ภูลังกาแห่งนี้ว่า “ฟินจาเบาะ” หรือ “แท่นเทวดา” โปรแกรมการท่องเที่ยว : 1 วัน - ช่วงเช้า : สัมผัสอากาศหนาว ชมทิวทัศน์ดอยภูลังกา เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ เช่น แปลงองุ่น อาโวคาโด้ การปลูกพืชผักในโรงเรือน และแปลงเกษตรกร - ช่วงบ่าย : จิ๊บกาแฟ และชาเจียวกูหลาน ที่จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) และเยี่ยมชมโครงการหลวงปังค่า 2 วัน วันที่ 1 - ช่วงเช้า : ไหว้พระขอพรวัดนันตาราม และวัดพระนั่งดิน - ช่วงบ่าย : ชมทิวทัศน์ดอยภูลังกา เยี่ยมชมแปลงเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ เช่น แปลงองุ่น อาโวคาโด้ การปลูกพืชผักในโรงเรือน และแปลงเกษตรกร วันที่ 2 - ช่วงเช้า : จิ๊บกาแฟ และชาเจียวกูหลาน ที่จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) และเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน - ช่วงบ่าย : เยี่ยมชมโครงการหลวงปังค่า และยอดดอยภูลังกา เส้นทางเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ : '- วัดนันตาราม ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 42.3 กิโลเมตร - วัดพระนั่งดิน ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 38 กิโลเมตร - โครงการหลวงปังค่า ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 21.8 กิโลเมตร - วนอุทยานภูลังกา ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 25 กิโลเมตร - จุดชมวิวผาช้างน้อย ภูลังการีสอร์ท Magic Mountain บ้านทะเลหมอก (ที่พักหลักร้อยวิวหลักล้าน) ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 6.9 กิโลเมตร - อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน ระยะห่างจากศูนย์ฯ ประมาณ 16 กิโลเมตร
พะเยา
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดจันทบุรี (ศูนย์ผึ้งจันทบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งชันโรง จิ้งหรีด และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผึ้งและผึ้งชันโรง จุดเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดในขอนไม้ั การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในภาชนะ การปักชำมะนาวแบบควบแน่น เที่ยวได้ทุกวันที่จันทบุรี การเลี้ยงผึ้ง Bee Keeping
จันทบุรี
สวนมังคุดแปลงใหญ่ ชิมผลไม้สดจากสวน เที่ยวชมสวน รับประทานผลไม้กับบรรยากาศร่มรื่น เเละจำหน่ายผลไม้คุณภาพหลากหลาย ผลิตภัณฑ์แปรรูป ของฝาก ร้านกาแฟ
ระยอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
พิกัด https://goo.gl/maps/5VAeHUFWAcovFCuYA
สระบุรี